กกต.ตอบ 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้าม สมัคร สว.

การเมือง
25 เม.ย. 67
16:20
302
Logo Thai PBS
กกต.ตอบ 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้าม สมัคร สว.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กกต.ตอบ 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว. ระบุ ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ในวันสมัครรับเลือกเป็น สว.

วันนี้ (25 เม.ย.2567 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตอบข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ใน 3 ประเด็น ดังนี้ 

1. กรณีเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ออกจากการเป็นสมาชิกกี่วัน

2. กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่

3. กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งคณะกรรมการชุมชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยคณะกรรมการชุมชน พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2566 ข้อ 16 และ ข้อ 18 วรรคสอง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องลาออกในวันรับสมัครหรือไม่ และกี่วัน

กกต.ชี้แจง 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว.

กกต.ชี้แจง 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว.

กกต.ชี้แจง 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้ว มีความเห็นดังนี้ 

อ่านข่าว กางตาราง "สว." บินดูงานต่างประเทศก่อนหมดวาระ 

1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 มาตรา 14 (21) กำหนดว่า ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ดังนั้น หากปรากฎข้อเท็จจริงว่า ในวันสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลซึ่งสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็น สมาชิกพรรคการเมืองใด ย่อมถือว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครตามมาตรา 14 (21) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 4 กำหนดคำนิยามคำว่า "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" ซึ่งหมายความว่า (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ข้าราชการการเมืองอื่น

นอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา กรณีตามข้อหารือเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงเทียบเคียงจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว 

กกต.ชี้แจง 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว.

กกต.ชี้แจง 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว.

กกต.ชี้แจง 3 ข้อหารือลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็น สว.

3. ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปลักษณะของ "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ไว้ โดยเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำโดยอยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของรัฐและมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย

ดังนั้น บุคคลใดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ ต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว

อ่านข่าว อย่าฮั้ว! กกต. เตือนผู้สมัคร สว. โทษสูงทั้งจำทั้งปรับ-ตัดสิทธิการเมือง 

ทั้งนี้ ควรหารือไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อวินิจฉัยว่าตำแหน่งคณะกรรมการชุมชนอยู่ในความหมายของคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ตามแนวคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 และ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิก วุฒิสภา พ.ศ. 2567 พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561

อ่านข่าว

กกต.ขู่ผู้สมัคร สว. ฝ่าฝืนคุณสมบัติ ตัดสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี 

ปลุก "สว.ประชาชน" ล้างบาง “ผลไม้พิษ”  

ครม.เคาะไทม์ไลน์เลือก สว.รับสมัคร 13 พ.ค.-ประกาศผล 2 ก.ค. 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง