สำรวจผล ลูกจ้างส่วนใหญ่...ไม่พอใจโบนัส และอีก 31% ไม่ได้รับในปีนี้

สังคม
31 ม.ค. 55
09:30
12
Logo Thai PBS
สำรวจผล ลูกจ้างส่วนใหญ่...ไม่พอใจโบนัส และอีก 31% ไม่ได้รับในปีนี้

จ็อบสตรีทดอทคอม เผยผลสำรวจลูกจ้าง 31% ไม่ได้รับโบนัส โดยพนักงานที่ได้รับโบนัสอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตมากถึง 27%

รีท (ประเทศไทย) จำกัด  เปิดเผยว่า การจัดทำแบบสำรวจการจ่ายโบนัสพร้อมกับสำรวจความพึงพอใจของพนักงานในการรับโบนัสปี 2554 ขึ้น โดยส่งแบบสอบถามไปยังสมาชิกคนทำงาน และสมาชิกองค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจมีทั้งสิ้น 427 บริษัท และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ร่วมตอบแบบสอบถามมากที่สุด 3 ลำดับแรก อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็น 28% รองลงมา 15% อยู่ในกลุ่มค้าปลีก และอีก 10% อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ โดย 74% ของบริษัทที่ทำแบบสอบถามอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล 10% ตั้งอยู่ในภาคกลาง และอีก 10% อยู่ในภาคตะวันออก
 
สำหรับผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามในฝ่ายพนักงานนั้นมีผู้ทำแบบสอบถามจำนวน 2,714 รายแบ่งเป็นระดับพนักงาน71%ระดับพนักงานอาวุโส 14%ระดับผู้จัดการ 13%และระดับผู้จัดการอาวุโสขึ้นไป อีก 2% โดย27% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตรองลงมา 10% อยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกและอยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างอีก 9%
 
จากการสำรวจฝ่ายองค์กรนั้น 32% ของบริษัทที่ทำแบบสำรวจ จ่ายโบนัสเฉลี่ย 1-2 เดือน อีก21%จ่ายโบนัสเฉลี่ย ไม่เกิน 1 เดือน 9% จ่ายโบนัสเฉลี่ยมากกว่าสองเดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน 6.5% จ่ายโบนัสเฉลี่ยมากกว่า 4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน 2% จ่ายโบนัสมากกว่า 6 เดือน และอีก 9% ยังไม่ทราบอัตราเนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดจ่าย สำหรับบริษัทที่งดจ่ายโบนัสในปีนี้มีสูงถึง 10.5% โดยเกณฑ์สำคัญที่ใช้ในการพิจารณาจ่ายโบนัสนั้น58.1% ของนายจ้างพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัท ในขณะที่ 20.1% พิจารณาจากผลการทำงาน12.5% จ่ายโบนัสแบบเก่าคือใช้อัตราคงที่ (Fix Rate)และพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ เช่นระยะเวลาการทำงาน หรือนโยบายผู้บริหารในแต่ละปีอีก 9.4%นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าแม้ว่าบริษัทที่จ่ายโบนัสส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต แต่อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เป็นกลุ่มที่มีการจ่ายโบนัสในอัตราเฉลี่ยสูงสุด พร้อมๆ กับเป็นอุตสาหกรรมที่มีบริษัทงดจ่ายโบนัสมากที่สุดด้วย 
 
จ็อบสตรีทดอทคอมได้สำรวจต่อไปว่า ในมุมมองของนายจ้างนั้น คิดว่าจำนวนโบนัสที่ได้รับมีผลต่อการลาออกของพนักงานหรือไม่ นายจ้าง55% มีความเห็นว่า มีผลบ้างแต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เหตุผลหลักในการลาออกของพนักงาน, 21% ระบุว่ามีผลอย่างมาก พนักงานอาจคิดเปลี่ยนงานเพราะไม่พอใจโบนัส 20.6% ให้ความเห็นว่าไม่น่าจะมีผลใดๆ และ 3.5% ไม่แน่ใจ” นางสาวฐนาภรณ์กล่าวเพิ่มเติม
 
ส่วนของคนทำงานนั้น 56% ของผู้ทำแบบสอบถามระบุว่าได้รับโบนัส และ 31% ไม่ได้รับโบนัสในปีนี้  อีก 13% ยังไม่ทราบ โดย 38% ได้รับโบนัสในระหว่าง 10,000 – 50,000 บาท8.5% ได้รับโบนัส 50,0001-100,000 บาท 4.5% ได้รับโบนัสมากกว่า 100,000 บาท
 
นางสาวฐนาภรณ์กล่าวว่า แง่ความพึงพอใจต่อโบนัสที่ได้รับนั้น  จากบทวิเคราะห์รายงานอัตราเงินเฟ้อ ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะเข้าดูแลความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและควบคุมราคาสินค้าในช่วงน้ำท่วม ทำให้สามารถชะลอการปรับขึ้นของราคาสินค้าในภาวะอุทกภัยได้พอสมควร แต่ในมิติของรายจ่ายรวมของประชาชนต่อครัวเรือนนั้น เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ โดยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2555 ไว้ที่ 3.9% อันเนื่องมาจากตัวแปรสำคัญหลายตัวอาทิ การทยอยยกเลิกมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ มาตรการตรึงราคาพลังงานบางประเภท และการปรับขึ้นค่าจ้างทั้งในส่วนของภาคเอกชนและรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับแบบสำรวจความพึงพอใจโบนัสที่ได้รับ ซึ่งพบว่า คนทำงาน 37.7% ไม่พอใจกับโบนัสที่ได้รับเนื่องจากจำนวนเงินที่ได้รับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น, 12% พอใจ ในขณะที่ 14.3% รู้สึกเฉยๆ ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม 47% จะนำโบนัสที่ได้รับไปเก็บออม 15% นำไปซื้อของขวัญให้ตัวเองและครอบครัว 12% นำไปลงทุน 11% นำไปซ่อมแซมรถและบ้าน 11% นำไปใช้หนี้และอื่นๆ เช่นให้พ่อแม่ และเก็บไว้แต่งงาน มีเพียง 4% ระบุว่าจะนำเงินไปท่องเที่ยว”
 
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มในการย้ายงานหลังได้รับโบนัส พบว่า 59.9% ของผู้ทำแบบสอบถาม ระบุว่าความพอใจกับโบนัสมีผลบ้างต่อการย้ายงานแต่ไม่ใช่เหตุผลเดียวในการย้ายงาน อีก 19.6% ระบุว่าต้องการย้ายงานเพราะไม่พอใจกับจำนวนโบนัสที่ได้รับ ในขณะที่ 9.8% ระบุว่า ตั้งใจหางานใหม่อยู่แล้ว ดังนั้นโบนัสมากหรือน้อยไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ในขณะที่ 2.5% ให้ความเห็นว่าไม่คิดย้ายงานเพราะพอใจกับโบนัสที่ได้รับ
 
จ็อบสตรีทดอทคอม ได้สำรวจเพิ่มเติมถึงผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ซึ่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงปีที่ผ่านมานั้น พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ถึง 53.2% กล่าวว่าไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการพิจารณาจ่ายโบนัส ในขณะนี้ 24.4% แจ้งว่ามีผลทำให้จ่ายโบนัสในจำนวนที่น้อยลง 6.8% อ้างว่าเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ไม่สามารถจ่ายโบนัสให้พนักงานได้ และอีก 7.5% กล่าวว่าเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้การจ่ายโบนัสต้องล่าช้าออกไปสำหรับอัตราการจ่ายโบนัสนั้น 37.7% แจ้งว่ามีการจ่ายโบนัสในอัตราเท่าเดิม ในขณะที่ 23.7% ระบุว่ามีการจ่ายในจำนวนที่น้อยลง และ 21% จ่ายโบนัสเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
 
จากผลสำรวจ พอจะสรุปได้ว่า จำนวนพนักงานที่ไม่พอใจกับโบนัสที่ได้รับ สอดคล้องกับการจ่ายโบนัส คือพนักงานส่วนใหญ่ได้โบนัสเท่าเดิม หรือ น้อยลง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตเท่าที่ควรจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา และนี่จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับองค์กรต่างๆ ในการหากลยุทธ์ที่จะดึงพนักงานที่ดีเอาไว้ให้ได้ ในช่วงที่ผลประโยชน์ต่างๆ ของพนักงานอาจจำเป็นต้องปรับลดลง ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็ต้องทำการบ้านหนักขึ้นเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการนำพาให้สามารถฟันฝ่าช่วงวิกฤตนี้ไปได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง