ระดมคิดช่วยรัฐแก้ปัญหาค่าแรงงาน-เงินป.ตรีสูง หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทย

สังคม
1 มี.ค. 55
09:40
27
Logo Thai PBS
ระดมคิดช่วยรัฐแก้ปัญหาค่าแรงงาน-เงินป.ตรีสูง หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทย

ผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย” โดยเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ 300/วัน และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า การจัดระดมสมองครั้งนี้เกิดจากนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้แรงงานมีรายได้วันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ทำให้เกิดกระแสในวงกว้างเนื่องจากขาดรายละเอียดของมาตรการที่รองรับนโยบายอย่างชัดเจน วช. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางและมีหน้าที่หลักในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยศึกษาวิจัย

โดยให้ความสำคัญใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ นโยบายค่าแรงงาน 300 บาทและรายได้ของปริญญาตรี 15,000 บาท ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจมหภาค ผลต่อโครงสร้างตลาดแรงงาน และผลของนโยบายปริญญาตรี 15,000 บาท ในภาคราชการ โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ได้แสดงความคิดเห็นทั้งในระดับอุตสาหกรรม SME และภาคราชการ เพื่อนำผลมาวางแผนระยะยาวนำเสนอรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะเป็นการขึ้นค่าแรงที่สูงจากที่คณะกรรมการไตรภาคีแรงงานกำหนดไว้โดยเฉพาะวุฒิ ปริญญาตรี อาจมีผลกระทบต่อทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากสินค้าที่ขึ้นราคา ภาคราชการจะรับได้แค่ไหนเพราะมีทั้งบุคลากรในระบบและนอกระบบ เช่น ลูกจ้างที่จ้างเป็นรายปี ดูเหมือนภาคราชการจะมีปัญหาน้อยแต่ก็มีผลต่อโครงสร้างงบประมาณใช่ว่าเข้ามาทำงานแล้วจะได้รับ 15,000 บาทเลย ต้องเก็บข้อมูลก่อนว่าจะมีผลกระทบต่อ ป.ตรี ที่ทำงานมาก่อนแต่เงินเดือนยังไม่ถึง 15,000 บาทหรือไม่อย่างไร
   
รศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทีมวิจัยจะนำเสนอภาพรวมของสภาวะการจ้างงานว่าจะมีผลกระทบอย่างไรต่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีลูกจ้างจำนวนมากกว่า 4 ล้านคนที่จะไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามนี้ และคาดว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจประมาณ 40%แต่ต้องดูว่าจะมีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานหรือไม่ด้วย โดยเฉพาะกลุ่ม SME จะมีโครงสร้างต้นทุนสูง แรงงานจะว่างงานหรือไม่เป็นคำตอบที่รออยู่ สำหรับเงินเดือน ป.ตรี ที่เพิ่มจะต้องดูผลระยะยาวตลอดชีวิตของการรับราชการ ว่าการเพิ่มนี้จะเป็นภาระของรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน โครงการนี้มีกำหนดจัดการประชุม 3 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ครั้งที่ 2 จะเป็นเสนอรายงานความก้าวหน้า(ประมาณปลายเดือนมีนาคม 55) ครั้งที่ 3 เสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์(ประมาณกลางเดือนเมษายน 55) และจะจัดประชุมใหญ่อีกครั้ง เพื่อเสนอรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ประมาณปลายเดือนเมษายนนี้
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง