กรมการแพทย์เผย เด็กเล็กถูกทำร้ายเพิ่มทุกปี ชี้ถูกกระทำโดยคนใกล้ชิดมากเป็นอันดับหนึ่ง

สังคม
12 มี.ค. 55
09:44
13
Logo Thai PBS
กรมการแพทย์เผย เด็กเล็กถูกทำร้ายเพิ่มทุกปี  ชี้ถูกกระทำโดยคนใกล้ชิดมากเป็นอันดับหนึ่ง

กรมการแพทย์เผย ในแต่ละปีมีเด็กเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายเพิ่มขึ้นส่วน ใหญ่เด็กร้อยละ 58 ถูกกระทำโดยคนใกล้ชิด รองลงมาร้อยละ 20 เป็นการโดนทำร้าย โดยคนแปลกหน้า และร้อยละ 8 ถูกทำร้ายโดยผู้ปกครอง การถูกทำร้ายเกิดได้กับเด็กในทุกช่วงวัย จึงขอเตือนผู้ปกครองให้ความห่วงใยและดูแลเอาใจใส่เด็กเล็กอย่างใกล้ชิด รู้จักควบคุมอารมณ์และหลีกเลี่ยงความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ

แพทย์หญิงวิลาวัลย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิด เผยว่า ปัจจุบันการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคเด็กของประเทศจะประสบความ สำเร็จอย่างมาก เห็นได้จากการลดจำนวนลงของการเสียชีวิตในเด็กจากโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดต่อ แต่ในทางกลับกันพบว่ามีเด็กที่ถูกทำร้ายและได้รับบาดเจ็บรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ทั้งด้านการป้องกันแก้ไขและช่วยเหลือ พบว่าการบาดเจ็บ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเสียชีวิตหลังจากขวบปีแรก ถึง 2 ใน 3 หรือร้อยละ 64 เสียชีวิต และเกือบร้อยละ 70 เป็นการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-17 ปี

ทั้งรายงานจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีระบุว่า มีเด็กและทารกที่บาดเจ็บจากการถูกกระทำรุนแรงเข้ารับการรักษาเฉลี่ยปีละ 4-6 ราย อายุระหว่าง 2 เดือน- 2 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่คือการตกจากที่สูง เช่น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ ที่มีความสูง มากกว่า 2 เท่าของสูงของเด็ก พบมากในเด็กอายุ 9 เดือน - 2 ปี การถูกเขย่าแรง ๆ มักเกิดในเด็กอายุ 2-6 เดือน การจมน้ำพบในเด็กอายุ 9 เดือน - 2 ปี และที่สำคัญคือการถูกทำร้ายโดยบุคคลในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดซึ่งเกิดได้กับ เด็กทุกช่วงอายุ

แพทย์หญิงวิลาวัณย์ กล่าวต่อไปว่า การทำร้ายเด็กนอกจากจะเป็นสาเหตุโดยตรงที่จะทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บแล้ว ยังเป็นสาเหตุของหลักของการเจ็บป่วยและความพิการตลอดชีวิตด้วย แต่ละปีจะมีเด็กมากกว่า 1,600 คน พิการอันเนื่องมาจากการบาดเจ็บ และทุกวันจะมีเด็กเสียชีวิตจากบาดการบาดเจ็บอย่างน้อย 16 คน เด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายแม้ถูกทำร้ายแม้จะไม่ถึงแก่ชีวิตแต่จะ มีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาด้านสุขภาพโดยเฉพาะผลต่อสมอง อาการส่วนใหญ่อาจส่งผลภายหลังคือ มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ สมองช้ำ กระหม่อมโป่ง อาเจียน ซึม ชัก และอาจเสียชีวิต บางรายแม้จะได้รับการรักษาแต่ก็อาจประสบปัญหา เช่น สมองพิการ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เป็นโรคลมชัก มีการพัฒนาการช้า ปัญญาอ่อน ก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย เป็นต้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง