การประหารชีวิตของญี่ปุ่นเป็นการ “ก้าวถอยหลัง”

ต่างประเทศ
31 มี.ค. 55
09:00
26
Logo Thai PBS
การประหารชีวิตของญี่ปุ่นเป็นการ “ก้าวถอยหลัง”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประณามการตัดสินใจของญี่ปุ่นในการเดินหน้าประหารชีวิตครั้งแรก ในรอบเกือบ 2 ปีว่าเป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่

มีการแขวนคอผู้ชายสามคนที่เรือนจำที่กรุงโตเกียว ฮิโรชิมา และฟูกูโอกะเมื่อเช้าวันที่ 29 มีนาคม 2555 นับเป็นการประหารชีวิตครั้งแรกในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 ภายหลังจากนายโตชิโอะ โอกาวา (Toshio Ogawa) รัฐมนตรียุติธรรมญี่ปุ่นสั่งการให้ กระทำได้ โดยอธิบายว่าเป็น “หน้าที่ของรัฐมนตรี”

ในญี่ปุ่นการประหารชีวิตมักใช้วิธีแขวนคอ และมักทำกันเป็นความลับ นักโทษมักได้รับ แจ้งล่วงหน้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง บางคนไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าเลย ทำให้นักโทษต้องใช้ชีวิตโดยคำนึงถึงว่าอาจถูกประหารในเวลาใดก็ได้ ส่วนครอบครัวได้รับแจ้งหลังจากการประหารชีวิตเริ่มต้นขึ้นแล้ว

"การประหารชีวิตในวันนี้ถือเป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่ของญี่ปุ่น และเป็นการเข้าร่วม กับประเทศกลุ่มน้อยในโลกที่ยังประหารชีวิตอยู่” แคเธอรีน เบเบอร์ (Catherine Baber) รองผู้อำนวยการแผนกเอเชีย-แปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว

"เราไม่อาจยอมรับการให้เหตุผลสนับสนุนการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอ้างว่าเป็น “หน้าที่ของรัฐมนตรี” ได้ ความจริงเป็นความรับผิดชอบของผู้นำที่จะแก้ไขปัญหา อาชญากรรม โดยไม่ใช้วิธีลงโทษซึ่งโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีของมนุษย์”

"เมื่อสองวันก่อนนี้เอง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยแพร่รายงานว่าด้วยสถานการณ์ โทษประหารทั่วโลก และได้ตั้งข้อสังเกตถึงการพัฒนาเชิงบวกในญี่ปุ่นซึ่งไม่มีการประหาร ชีวิตเลยเป็นเวลาเกือบสองปี การแขวนคอเมื่อเช้านี้จึงถือเป็นการก้าวถอยหลังครั้งใหญ่"
   
เมื่อเดือนมกราคม รัฐมนตรีโอกาวาเขาจะฟื้นการประหารชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยถือเป็นความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน

โตโมยูกิ ฟูรุซาวา (Tomoyuki Furusawa) อายุ 46 ปีถูกประหารที่ศูนย์ควบคุมตัวที่กรุง โตเกียว ยาสุอกิ อุวาเบะ (Yasuaki Uwabe) อายุ 48 ปีถูกประหารที่ศูนย์ควบคุมตัว กรุงฮิ โรชิมา และยาสุโตชิ มัตสุดะ (Yasutoshi Matsuda) อายุ 44 ปี ถูกประหารที่ฟูกูโอกะ

ทนายความของนายอุวาเบะแสดงข้อกังวลว่า ลูกความของเขามีอาการด้านจิตเวช แต่ ศาลมีคำตัดสินว่าเขาสามารถเข้ารับการไต่สวนคดีได้ 

กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดข้อจำกัดที่เข้มงวดต่อรัฐที่ยังคงใช้โทษประหาร และเสนออย่างหนักแน่นให้ยกเลิกโทษประหารหากเป็นไปได้ ญี่ปุ่นเป็นรัฐภาคีต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งระบุว่า ไม่อาจอ้างหลักเกณฑ์การใช้โทษประหารใด ๆ เพื่อชะลอหรือป้องกันการยกเลิกโทษประหารได้

กว่าสองในสามของประเทศต่าง ๆ ในโลก ได้ยกเลิกโทษประหารไปแล้ว ทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ ในวันที่ 13 มีนาคม 2555 มองโกเลียเป็นประเทศล่าสุดที่ยกเลิกโทษประหาร หลังจากให้ภาคยานุวัติต่อสนธิสัญญาสำคัญขององค์การ สหประชาชาติที่มีเป้าหมายเพื่อยกเลิกโทษประหาร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง