เรียกประชุมหน่วยงานเศรษฐกิจ รับมือวิกฤตยูโร "กรีซ" เลือกตั้งรอบสอง 17 มิ.ย.

เศรษฐกิจ
17 มิ.ย. 55
05:48
15
Logo Thai PBS
เรียกประชุมหน่วยงานเศรษฐกิจ รับมือวิกฤตยูโร "กรีซ" เลือกตั้งรอบสอง 17 มิ.ย.

 นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าจากการที่นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจเข้าพบเมื่อเวลา 10.00-12.00 น. มี นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(ก ยอ.) และประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)และตัวแทนสำนักเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)  เข้าหารือถึงสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปนั้น นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทั้ง3 หน่วยงานได้แก่ สศช. สศค. และ ธปท.ไปประเมินผลกระทบของสถานการณ์เศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศไทย โดยจัดทำซีนารีโอ้ ของผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับในระดับต่างๆ ตั้งแต่ผลกระทบรุนแรงที่สุดจนถึงระดับเบาที่สุด ทั้งทางด้านการเงิน การส่งออกของประเทศไทย และด้านอื่นๆ

 
นายสุรนันทน์ กล่าวอีกว่า หากข้อมูลของทั้ง 3 หน่วยงานไม่ตรงกันก็ต้องประชุมและทำแผนปฏิบัติการร่วมกันเพื่อให้การดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันและจะต้องติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากมีความยืดหยุ่นทางการเงินมากเพียงพอ แต่ยังไม่ได้มีมาตรการที่รองรับเหตุการณ์อย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด และประเทศไทยก็เคยรับมือกับ วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แล้ว ประเทศไทยมีความเข็มแข็งพอสมควรแต่ก็ไม่ประมาท
 
“นายกรัฐมนตรียังแสดงความเป็นห่วงธุรกิจเอสเอ็มอีและให้ดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด โดยให้สสช.เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่จะดำเนินการ และยังให้ทั้ง 3 หน่วยงานประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจยุโรปทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทุกฝ่ายเตรียมตัวกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยจะใช้กลไกทางการคลังดำเนินการ” นายสุรนันทน์กล่าว
 
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผยหลังนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีตรวจงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมอบหมายนโยบายว่า เหตุการณ์ในยุโรปนั้นรัฐบาลได้จับตามองเรื่องการเลือกตั้งในประเทศกรีซในวันที่ 17 มิถุนาว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร และกรีซจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรือไม่แต่หากไม่ออกประเทศที่จะเข้ามาช่วยเหลือนั้นก็ต้องแบกรับภาระต่อไป ทั้งนี้ก็มีแนวน้มว่าออาจะกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทย อย่างไรก็ตามประเทศไทยส่งออกสินค้าโดยตรงไปยังยุโรปเพียง 9% เท่านั้น
 
“นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ไปตรวจสอบว่าประเทศไทยส่งสินค้าอะไรไปในยุโรปบ้าง เราเสียรายได้เท่าไร และหาตลาดอื่นเพื่อรองรับแทนซึ่งประเทศไทยส่งออกไปในแทบเอเชียแปซิฟิคถึง 50% และส่งออกไปยังประเทศจีน 19% ซึ่งผลกระทบทางอ้อมที่ตลาดต่างประเทศอื่นที่เราส่งสินค้าให้นั้น จะส่งออกไปยังยุโรปเท่าไร จึงต้องรอตัวเลขที่แน่ชัดจึงจะสามารถวิเคราะห์ผลกระทบได้”นายอาคมกล่าว
 นายอาคมกล่าวต่อว่า ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายนโยบายให้ สศช.ดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจ  
 
 
1 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจในประเทศ หรือบิวสิเนทแพลน ในการกำหนดอนาคตของประเทศไทยว่าจะดำเนินการไปในทิศทางใด  และในอีก 5-20 ข้างหน้าจะมีการดำเนินการทางเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งในเบื้องต้นจะจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการ หรือเวิรค์ช็อปโดยเรียงลำดับตามความสำคัญซึ่งจะทำเศรษฐกิจในภาพรวมก่อน จากนั้นจะมุ่งไปตามด้านต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อมแรงงาน ความพร้อมของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม การเข้าสู่เออีซี และด้านท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมทุกเรื่องก่อนที่จะถึง ปีพ.ศ. 2558 ทั้งนี้เราต้องมองการแข่งขันในระดับโลกควบคู่ไปด้วย เพราะเราไม่ได้แข่งกับสมาคมอาเซียนอย่างเดียว
 
2 จัดทำข้อมูลในประเทศให้ทันสมัย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจในยุโรปว่าอาจจะกระทบประเทศไทย จึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลต่างๆ ของประเทศอื่น เช่น ความสามารถทางเศรษฐกิจและการลงทุนการค้ากับประเทศยุโรปเป็นแบบใด เขามีปัญหาแบบไหน ตัวเลขทางการค้าเป็นอย่างไร อีกทั้งจะทำให้เป็นการรู้เขารู้เรา เพื่อที่ประเทศไทยจะได้เตรียมการได้ถูกต้อง  จัดทำข้อมูลเศรษฐกิจชนบท ในระดับจังหวัด อำเภอ ว่าแต่ละพื้นที่นั้นมีความสามารถทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างไร มีความร่วมมืออะไร มีปัญหาในแต่ละพื้นที่อย่างไร เช่นปัญหาสุขภาพ ความยากจน การศึกษา เป็นต้น เพื่อให้ได้สร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศ
 
3 การติดตามความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและโครงการที่ริเริ่มขึ้นมาใหม่ จะต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ ว่าขณะนี้ดำเนินการไปยังจุดใดแล้วและความสำเร็จตรงตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่
ทั้งนี้ สศช. ได้รายงานการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเข้าสู่สมาคมอาเซียนและการเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ 13 เรื่องด้วยกัน เช่น ต้องเตรียมการทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สมาคมอาเซียน อันดับที่สองคือต้องเตรียมตัวทางด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านความั่นคงในประเทศและการเมืองในประเทศ 
 
“ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ เช่นการส่งเสริมและสร้าง กำลังซื้อในประเทศนั้นสศช. ได้เสนอว่า ให้ใช้ สินค้า โอทอปที่พัฒนามาในระดับหนึ่งนั้น มีแนวความคิดว่า อาจจะเลือกเส้นทางรถไฟ หรือสถานีรถไฟเป็นศูนย์การขายสินค้ารวมของคนในชุมชน เพื่อให้นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนได้ใช้จ่ายในพื้นที่ และการใช้สนามบินกว่า 36 แห่งในประเทศให้พัฒนารายได้ไม่ใช่เป็นแค่ใช้ประโยชน์จากการบิน อาจจะนำสินค้าโอทอปมาจำหน่ายในสนามบิน” นายอาคมกล่าว
นายอาคมกล่าวว่า เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไปได้แก่ การจัดโซนนิ่งภาคการเกษตร โดยในปัจจุบันสินค้าเกษตรของประเทศไทยได้รับผลกระทบทางด้านราคาแม้ว่ารัฐบาลจะมีโครงการจำนำสินค้าเพื่อรองรับ และได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางด้านเกษตรกรรม อีกทั้งสินค้าบางช่วงยังมีราคาแพง จึงเป็นแนวคิดให้มีการจัดและกำหนดพื้นที่การเกษตรขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมปริมาณสินค้า การควบคุมดูแลคุณภาพ การอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมเพื่อลดต้นทุนสินค้า การนำเทคโนโลยีไปใช้ในการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต  การนำร่องนวัตกรรมทางด้านการเกษตร 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง