ศอ.บต.พาผู้บริหาร พบปะผู้ประกอบการไทย ในมาเลเซีย หนุนช่วยเหลือการเงิน-การลงทุน

ภูมิภาค
17 มิ.ย. 55
08:21
8
Logo Thai PBS
ศอ.บต.พาผู้บริหาร พบปะผู้ประกอบการไทย ในมาเลเซีย หนุนช่วยเหลือการเงิน-การลงทุน

 นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รายงานผ่านเฟซบุ๊ค ถึงการพบปะของ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) กับผู้ประกอบการร้านอาหาร ในกำปงบารู ประเทศมาเลเซียว่า กำหนดการ พบผู้ประกอบการร้านอาหารต้มยำกุ้ง ย่านกำปงบารู ในกัวลาลัมเปอร์ ช่วงเย็นวันที่ 16 มิถุนายนว่า เพื่อแจ้งความคืบหน้าในเรื่องความช่วยเหลือภาครัฐด้านการเงิน เป็นเงินกู้จากธนาคารอิสลาม ตกประมาณร้านละ 500,000 บาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงร้านและเป็นค่าใช้จ่ายเจ้าของร้านในการจ่ายค่าธรรมเนียมภาษีแรงงานต่างชาติ ที่เจ้าของร้านต้องรับผิดชอบตกปีละ 1,850 ริงกิต หรือประมาณ 18,500 บาท เป็นเงินกู้ที่ทางร้านต้องจ่ายคืนในเวลาที่กำหนด

 
นอกจากนี้ยังมีเรื่องการศึกษาให้กับบุตรหลานที่เกิดและเติบโตในมาเลยเซีย ให้สามารถ่อ่านเขียนภาษาไทยได้ เป็นข้อเสนอของผู้ประกอบการที่อยากให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ สะท้อนอย่างดีถึงความผูกพัน ที่ยังมีกับประเทศไทย อยากให้บุตรหลานอ่านเขียนภาษาไทยได้ โดยผู้ประกอบการดีใจที่หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแล  ทั้งนี้ ไม่เคยมีการช่วยเหลือจากภาครัฐเข้ามาตลอดช่วงที่ผ่านมา เงินกู้ที่มีให้ไม่ได้มากมายอะไร แต่เห็นว่าน้ำใจที่มีให้ และการมาอย่างต่อเนื่องของเลขาธิการศอ.บต. นี้ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่นี่เห็นถึงความจริงใจ   โดยภาครัฐอย่าได้กังวลกับข้อกล่าวหาที่มีตลอดช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการยืนยันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ไม่เคยคิดทำร้ายบ้านเมือง ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวสร้างเหตไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือคนไทยมาลายู และจากปัญหาความไม่สงบทำให้เยาวชนไทย ยังมาทำงานในมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง...
 
การพบปะครั้งนี้ นายเสริมสุข รายงานด้วยว่า จากการศึกษาของ นางชิดชนก ราฮิมมูลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อปี 2551 มีคนไทยทำงานที่มาเลยเซียในธุรกิจต้มยำกุ้ง 150,000 คน ส่งรายได้กลับบ้านเฉลี่ยเดือนละ 300 ล้านบาทต่อปี ตกกว่าสามพันล้านบาท.. คาดว่าในปี 2555 ตัวเลขน่าจะเพิ่มถึ ง200,000 คน
 
 สำหรับบรรยากาศประชุมที่ห้องอาหาร ลาล่า ในเขตกัมปงบารู เลขาธิการ ศอ.บต. พาผู้บริหารไอแบงก์ หรือ ธนาคารอิสลามมาร่วมหารือพูดคุย ถึงเงินกู้ยืมนำร่อง งวดแรก 15 ล้านาท ให้เจ้าของร้านอาหารไทย 30 ร้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการกู้เงินจากธนาคารเพื่อใช้ปรับปรุงร้าน รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายในการ ทำใบอนุญาตการทำงาน หรือ work permit ให้กับคนงานไทย..หลังประชุม ผู้บริหารไอแบงก์ เดินสำรวจร้านอาหารไทย ตกใจเห็นคนมาเลย์กินข้าวร้านอาหารไทย ต่อคิว แน่น เมื่อแรกที่ฟังว่ามีเงินสะพัดส่งกลับไทยเดือนละ 300 ล้านบาท ประเมินได้จากการรับประทานอาหารของคนมาเลย์ ที่นิยมกินข้าวนอกบ้าน มากันทั้งครอบครัว มีอยู่ร้านหนึ่งให้ตัวเลขว่าขายได้วันละเฉลี่ย 50,000 บาท หักค่าใช้จ่ายเหลือ 25,000 ร้าน บวกลบคูณหาร  ตกปีละร่วม 2,000 กว่าล้าน[km นี่ยังไม่นับรายได้ของแรงงานไทยอีกเกือบสองแสน ...ตัวเลขสามพันล้านที่มอ.สงขลา วิทยาเขตปัตตานี ประเมินไว้ ไม่หนีกันเท่าไหร่...ตัวเลขกู้ยืม งดแรกให้ร้านละ 500, 000 บาท  
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง