"ชาวคลิตี้ล่าง" ต้องการให้ "คพ." แก้ไข "ห้วยคลิตี้" ให้เหมือนเดิม

สิ่งแวดล้อม
26 มิ.ย. 55
06:05
40
Logo Thai PBS
"ชาวคลิตี้ล่าง" ต้องการให้ "คพ." แก้ไข "ห้วยคลิตี้" ให้เหมือนเดิม

การพิจารณาคดี สารตะกั่วปนเปื้อนในลำห้วยคลิตี้ ครั้งแรกของศาลปกครองสูงสุดวันนี้ โดยเริ่มพิจารณาไปแล้วตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ ซึ่งศาลฯจะให้ทั้งกรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ. และชุมชนชาวคลิตี้ล่าง แถลงสรุปคดี โดยเฉพาะชาวคลิตี้ล่าง จะมีโอกาสพูดต่อศาล ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเรียกร้องที่ต้องการ

นายสุรชัย ตรงงาม ผู้อำนวยการ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสิ่งที่ชาวบ้านคลิตี้ล่างต้องการว่า ชาวบ้านต้องการให้ลำห้วยคลิตี้ สามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดิม หลังจากที่ศาลปกครองได้พิพากษาชั้นต้นไปแล้ว ว่ากรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังคงดำเนินการล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ และยังไม่ได้นำไปสู่การฟื้นฟูอย่างแท้จริง ซึ่งในวันนี้ชาวบ้านจะส่งตัวแทน เพื่อแถลงต่อศาลฯ ถึงผลกระทบ จากการที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ลำห้วยจำนวนมากในปัจจุบัน และต้องการให้ศาลมีคำบังคับคพ.ให้เร่งดำเนินการแก้ไขจนกลับมาใช้ประโยชน์ได้

นอกจากนี้ ชาวบ้านเรียกร้องให้คพ. เร่งขจัดสารพิษในลำห้วยให้มีคุณภาพดี โดยมีแผนงานที่ชัดเจน , ยังต้องการให้คพ.เรียกร้องค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาจากโรงงานเหมืองแร่ และชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ จากการใช้น้ำ ตามวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งนี้ต้องการให้ศาลฯ ให้คพ.เรียกค่าเสียหายแก่ผู้ก่อมลพิษ เนื่องจากก่อนหน้านี้ แม้ว่าสภาพน้ำจะดีขึ้น แต่ตามรายงาน ชาวบ้านยังต้องต้มน้ำก่อนดื่ม หรือกรองก่อน ส่วนสัตว์น้ำ เช่น กุ้ หอย ปู ปลา ยังมีค่าเกินมาตราฐาน จนไม่สามารถบริโภคได้ อีกทั้งยังมีตะกอนดินประมาณ 20 ก.ก.ที่มีสารตะกั่วจำนวนมหาศาล ซึ่งยังไม่ได้ขุดลอก หรือฟื้นฟู แต่อย่างใด ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลต่อร่างกายของชาวบ้าน

นายสุรชัย กล่าวว่า ความสำคัญของการพิจาณาของศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ (25 มิ.ย.55) นั้นคือ ช่วยทำให้การพิจาณณาเป็นปะรโยชน์ เพราะการตั้งแผนกสิ่งแวดล้อมชึ้นมา หมายถึง มีการตั้งผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรม,  คดีนี้เป็นคดีบรรทัดฐาน แผนกคดีสิ่งแวดล้อมจะให้ความสำคัญในการคุ้มครองสิทธิ์ , คำนึงถึงการใช้สิทธิ และใช้ประโยชน์ของชุมชน นอกจากนี้แล้ว การตัดสิรศาลฯยังให้ตุลาการผู้แถลงคดี อ่านคำแถลงการณ์ ซึ่งไม่องค์คณะผู้ตัดสิน ให้ความเห็นในกรณีดังกล่าวก่อนการพิพากษา ทั้งนี้เป็นเพียงความคิดเห็นเบื้องต้นทางกฏหมายเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี เพื่อเห็นแนวโน้มของคดีว่า การพิพากษาน่าจะเป็นไปในทิศทางใด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง