ศาลอาญาไต่สวนนัดสุดท้ายคดี "พัน คำกอง" จากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 53

อาชญากรรม
30 ส.ค. 55
14:14
76
Logo Thai PBS
ศาลอาญาไต่สวนนัดสุดท้ายคดี "พัน คำกอง" จากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 53

ศาลนัดไต่สวนสาเหตุการตาย จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. คดีนายพัน คำกอง 1 ในผู้เสียชีวิต ช่วงแยกราชปรารภ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 คดีนี้ถือว่ามีความคืบหน้ามากที่สุด วันนี้(30 ส.ค.) ศาลนัดไต่สวน 3 คน โดยเฉพาะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ซึ่งเป็นผู้สั่งการในขณะนั้น ซึ่งนายสุเทพเบิกความชัดเจนว่า ไม่มีคำสั่งสลายการชุมนุมแม้แต่ครั้งเดียว แต่เป็นการให้แก้ไขตามสถานการณ์ ขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุม หลังจากมีเหตุการณ์ชายชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงใส่เจ้าหน้าที่

ศาลอาญารัชดา นัดไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิต นายพัน คำกอง อาชีพคนขับแท็กซี่ ชาวจ.ยโสธร ที่มาร่วมชุมนุมกลุ่ม นปช.และเสียชีวิตในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 โดยในวันนี้( 30 ส.ค.)มีพยานจำเลยถูกเรียกขึ้นให้การ 3 คนคือ พลตำรวจเอกประทีป ตันประเสริฐ อดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ/ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐาน อดีต ผอ. ศอฉ.

โดยนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากภรรยานายพัน เปิดเผยว่า ประเด็นคำถาม จะเน้นเรื่องการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเหตุความรุนแรงทางการเมือง ว่าเป็นไปตามหลักสาหลหรือไม่

พล.ต.อ.ประทีป เบิกความปากแรก ว่าในขณะนั้นทำหน้าที่ ผู้ช่วย ผอ. ศอฉ. ดูแลควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ แต่ในการทำงาน และการสั่งการต้องขึ้นตรงกับกองทัพภาคที่ 1 ตามคำสั่ง ศอฉ. การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในช่วงนั้น ทำหน้าที่ ตั้งด่านตรวจชั้นนอก ซึ่งจะมีอุปกรณ์เพียงโล่และกระบอง และเมื่อมีการปิดล้อมพื้นที่ราชประสงค์ วันที่ 14 พ.ค. ได้ก็มีคำสั่งให้ตำรวจพกพาอาวุธปืนได้ แต่ก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นด่านชั้นนอก เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ประทีป ปฏิสธ ไม่ทราบและได้รับรายงานการเสียชีวิตนายพัน และผู้ชุมนุม 20 คน ช่วงระหว่างวันที่ 15-21 พ.ค เพราะเกษียณอายุราชการก่อน

จากนั้นนายสุเทพ ขึ้นเบิกความ โดยช่วงแรกให้ข้อมูล ที่กลุุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง จากนั้นเป็นการไต่สวนเรื่องมาตรการ การควบคุมการชุมนุม ซึ่งนายสุเทพบอกว่าไม่เคยสั่งการให้สลายการชุมนุม แต่สั่งให้แก้ไขสถานการณ์ เช่นพลักดันผู้ชุมนุม และขอคืนพื้นที่ ไม้ได้สั่งให้ใช้กำลังบังคับให้เลิกการชุมนุม

นายสุเทพเบิกความอ้างว่า บางช่วงเหตุการณ์ที่มี รายงานชายชุดดำ ใช้อาวุธสงครามยิงใส่เจ้าหน้าที่ ทางศอฉ.จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ให้รัดกุม เพื่อป้องกันชีวิตเจ้าหน้าที่และประชาชน ส่วนการเสียชีวิต นายพัน ได้รับรายงานในภายหลัง

ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เบิกความสรุปว่าในช่วงปี 2553 ไม่มีนโยบายใดไที่สั่งการให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม แต่เป็นการขอพื้นที่คืน ทั้งแยกคอกวัว เพื่อแก้ปัญหาการจราจร ส่วนการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม เห็นว่ามาจากมีกลุ่มผู้ติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุนุมนุม ส่วนกรณีมีผู้เสียชีวิตต้องตรวจสอบต่อไปว่ามีฝีมือใคร

สำหรับคดีนายพันคำ การไต่สวนวันนี้เป็นนัดสุดท้าย ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ในวันที่ 17 ก.ย. นี้ สำหรับคดีนี้หากพบภายหลังว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องจะต้องมีการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง