นักวิจัย ม.ขอนแก่น พบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่

สังคม
25 ก.ย. 55
02:07
182
Logo Thai PBS
นักวิจัย ม.ขอนแก่น พบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นพบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่ คล้ายโรคพุ่มพวง โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยขณะนี้ได้เร่งผลิตยาต้านไวรัส และวางแผนป้องกันในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุ 20 ขึ้นไป ที่พบว่าป่วยมากที่สุด โดยแพทย์ระบุว่าโรคนี้ไม่เป็นโรคติดต่อ แต่อันตรายถึงชีวิตได้

มหาวิทยาลัยของแก่นเปิดเผยการค้นพบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ใช่โรคเอดส์ และมีลักษณะคล้ายกับโรคพุ่มพวง โดย ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวว่า ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษา และคว้าจากกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และพบว่ามีการกลายพันธุ์ จนนำไปสู่การเกิดโรคสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศิริราชพยาบาล, รามาธิบดี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวที่ตรวจพบแล้วมากกว่า 120 ราย ในจำนวนนี้มากถึงร้อยละ 80 เป็นผู้ป่วยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอัตราเฉลี่ยอายุระหว่าง 20 ปีขึ้นไป

สำหรับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคพุ่มพวง และไม่ใช่โรคเอดส์ โดยการเกิดของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างแอนติบอดี้มายับยั้งเซลล์พวกไต ทำให้ไตผิดปกติ เม็ดเลือดขาวหรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ขณะที่คนไข้จะมีอาการผมร่วงมีผื่น ปวดตามข้อ มีโรคไต โรคเลือด โดยคนไข้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวนี้ อยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยด้วยโรควัณโรค ที่มีอาการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยผู้ป่วยบางรายมีภาวะผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ แต่จะไม่ติดเชื้อของกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เรียกได้ว่าโรคสายพันธุ์ใหม่นี้จะมาทำลายเซลล์ของตัวเอง

สำหรับโรคนี้แพทย์ยืนยันว่าไม่ได้เป็นโรคติดต่อ หรือแพร่ระบาดจากคนสู่คนอย่างแน่นอน ขณะที่แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการรักษาด้วยการแก้ไขปัญหาทีละสาเหตุ ด้วยการให้ยาเฉพาะทางรักษาอาการที่ละโรคไปก่อน เนื่องจากการรักษาในระดับสากลนั้น จะมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่อผู้ป่วย 1 ราย รายละ 100,000 บาท โดยจะต้องสั่งซื้อยามาจากสหรัฐอเมริกา จึงจะหายขาดได้ ทำให้ขณะนี้การรักษาของทางโรงพยาบาล คือการรักษาในเฉพาะทางแต่หากจะหายขาดต้องใช้ระยะเวลานาน ขณะที่ผู้ป่วยบางรายกลับพบอาการแทรกซ้อน และมีการติดเชื้อได้ ดังนั้น ทีมนักวิจัยจาก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง