"กองทัพ"หารือ"แนวร่วมบีอาร์เอ็น" อีกก้าวแก้ปัญหาภาคใต้

27 ก.ย. 55
14:33
85
Logo Thai PBS
 "กองทัพ"หารือ"แนวร่วมบีอาร์เอ็น" อีกก้าวแก้ปัญหาภาคใต้

วันนี้ (27 ก.ย.)มีการหารือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเหตุรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้ระหว่างแม่ทัพภาคที่ 4 และคณะกรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกรรมการหลายคนเป็นตัวแทนแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบที่เข้ารายงานตัวกับทางการก่อนหน้านี้ ทำให้คาดหวังว่า ตัวแทนเหล่านี้จะเป็นผู้ประสานไปยังกลุ่มที่ยังคิดต่างกับรัฐให้ยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงได้

<"">
<"">

พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการ ต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะกรรมการหลายคนเป็นตัวแทนแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบที่เข้ารายงานตัวกับ ทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งสาระการพูดคุยในวันนี้เพื่อให้แนวร่วมที่ได้เข้าเป็นคณะกรรมการเป็นตัว เชื่อมประสานไปยังกลุ่มขบวนการที่ยังคิดต่างกับรัฐให้ยุติการต่อสู้ด้วยวิธี รุนแรงแล้วหันมาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

ขณะที่อัตดนัน มะดาโอ๊ะ ครูสอนศาสนาโรงเรียนมะหาดอิสลามมิยะ อ.รามัน จ.ยะลา ในฐานะที่เคยตกเป็นผู้ต้องหาคดีความมั่นคงและถูกมองว่าคิดต่างกับรัฐ อัตดนัน มะดาโอ๊ะ เห็นว่าเป็นเรื่องดีที่มีการเปิดเวทีให้มีการพูดคุย เพราะสามารถช่วยลดความหวาดระแวงระหว่างกันลงได้

<"">
<"">

ด้านศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เห็นว่าการใช้การเมืองนำการทหารของฝ่ายความมั่นคงเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังเป็นห่วงเรื่องกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังเข้ารายงานตัวโดยเฉพาะใน เรื่องกฎหมายและคดีความที่ติดตัวมาก่อนหน้านั้นของแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบ

นอกจากนี้ ประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มองว่าภาพที่เห็นในวันนี้เป็นเพียงการรุกทางการเมืองของ ฝ่ายความมั่นคง เพราะผู้ที่เข้ามารายงานตัวไม่ใช่แกนนำในฝ่ายขบวนการที่แท้จริง แต่เป็นการส่งตัวแทนออกมาหยั่งท่าที ถึงความจริงใจที่มีให้กันระหว่างฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ

<"">
<"">

นอกจากนี้ ประธานสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเห็นว่าการพูดคุยเพื่อนำไปสู่สันติภาพ ที่แท้จริงต้องมีความเท่าเทียมกันระหว่างทุกฝ่ายที่เข้าร่วมขบวนการสันติภาพ ไม่ถูกชักนำจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและที่สำคัญต้องเปิดโอกาสให้เครือข่ายภาค ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง