ชาวบ้านยังคัดค้านกรณีรื้อฟื้นโครงการ "แก่งเสือเต้น"

ภูมิภาค
27 ก.ย. 55
14:51
207
Logo Thai PBS
ชาวบ้านยังคัดค้านกรณีรื้อฟื้นโครงการ "แก่งเสือเต้น"

ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือครั้งล่าสุด โดยเฉพาะที่ จ.สุโขทัย ทำให้ภาครัฐนำแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว โดยอาจรื้อฟื้นโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ใน จ.แพร่ ซึ่งเคยถูกคัดค้านกลับมาอีกครั้ง ขณะที่ชาวบ้านมีความเห็นในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

การจัดเวรยามเฝ้าระวัง บริเวณทางเข้าอุทยานแห่งชาติแม่ยม เพื่อป้องกันหน่วยงานของรัฐเข้าไปยังพื้นที่จุดก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นหนึ่งในมาตราการตอบโต้ของ ชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน ใน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ หลังภาครัฐประกาศสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ด้วยเหตุผลเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขต จ.แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร และกำแพงเพชร แต่ชาวบ้านอ้างว่า พวกเขากว่า 1,000 ครอบครัวต้องอพยพออกจากพื้นที่ และป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศกว่า 24,000 ไร่ และ ป่าเบญจพรรณ อีกกว่า 30,000 ไร่ จะต้องจมอยู่ใต้น้ำ

แก่งเสือเต้นเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ. 2523 หลัง ครม.ขณะนั้นมีมติให้ กฟผ.วางโครงการอิง-ยม-น่านและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ พ.ศ. 2539 ครม.มีมติให้กรมชลประทานออกแบบ และก่อสร้าง โดยระบุว่าเพื่อแก้ไขความต้องการน้ำในลุ่มแม่น้ำยมและบรรเทาอุทกภัยใน จ.แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ได้ ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะ จ.แพร่ จะบรรเทาน้ำท่วม ได้เกือบทั้งหมด

<"">

 

โดยแผนปี พ.ศ. 2541 ระบุว่าเป็นเขื่อนหินถมดาดคอนกรีต ความสูงจากท้องน้ำ 70 เมตร สันเขื่อนยาว 540 เมตร เก็บกักน้ำได้ 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร มูลค่าก่อสร้าง 8,280 ล้านบาท แต่การก่อสร้างถูกต่อต้านจนถึงปัจุบัน

แม้ว่าชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซาก ส่วนหนึ่งจะสนับสนุน แต่ยังมีบางส่วนไม่เชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

ทั้งนี้ แก่งเสือเต้น กำเนิดจากแม่น้ำยมในเทือกเขาภูลังกาใน อ.ปง จ.พะเยา ก่อนจะไหลผ่านกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม ใน อ.สอง จ.แพร่ ซึ่งจะเป็นจุดก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยแม่น้ำยมที่ไหลผ่านจ.แพร่ มีความยาว 280 กิโมเมตร หรือ คิดเป็น 1 ใน 3 ของความยาวลำน้ำทั้งหมด และ มีลำน้ำสาขาหลัก 16 สาย จากนั้นจึงไหลเข้าสู่ จ.สุโขทัย ที่ อ.ศรีสัชนาลัย และต่อเนื่องถึง จ.พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์


ข่าวที่เกี่ยวข้อง