ระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต "เด็กเร่ร่อน"

8 ต.ค. 55
14:52
192
Logo Thai PBS
ระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต "เด็กเร่ร่อน"

การไม่มีสถานะบุคคลทำให้เด็กเร่ร่อนหลายคน ไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกันเด็กที่มีสัญชาติไทยที่แม้ว่าจะมีการรับรองสถานะบุคคล แต่พบว่าระบบการศึกษาไม่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของพวกเขาได้ ทำให้มีเด็กเร่ร่อนจำนวนมาก หลุดออกจากระบบการศึกษา อาตู่ มาเยอะเยาวชนมูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก จ.เชียงราย

                                

<"">

ความตั้งใจและมุ่งมั่นในการช่วยสอนหนังสือให้กับน้องๆเด็กเร่ร่อนในมูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก จ.เชียงราย ในฐานะพี่เลี้ยง เป็นสิ่งที่ อาตู่ มาเยอะ ชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า วัย 17 ปี ตั้งใจที่จะทดแทนบุญคุณของครู ที่เคยเลี้ยงดูเธอมา เนื่องจากฐานะครอบครัวที่ยากจน ทำให้ อาตู่ เด็กหญิงวัย 4 ขวบ คิดว่าการออกจากบ้าน เพื่อมาทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ จะทำให้เธอมีรายได้ส่งกลับไปให้กับพ่อแม่ แต่แล้วอาตู่ ก็ต้องผิดหวังเมื่อถูกหลอกให้เป็นขอทาน
<"">
<"">

ระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ใช้ชีวิตแบบเด็กเร่ร่อน เป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยลืม และชีวิต อาตู่ ก็พลิกผันอีกครั้ง เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ทำให้เธอได้เรียนหนังสือ แม้ว่าจะไม่มีสถานะบุคคล

ก่อนหน้านี้ อาตู่ เคยได้รับเลขประจำตัว 13 หลักในหลักฐานการจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ความไม่ชัดเจนในงานทะเบียน ทำให้เลข 13 หลักของเธอหายไปจากระบบ และจนถึงเธอก็ไม่มีแม้กระทั่งบัตรประชาชนเลข 0 สำหรับบุคคลไร้สถานะ

<"">
<"">

โดย นุชนารถ บุญคง ผู้จัดการมูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก จ.เชียงราย กล่าวว่า การศึกษาสำหรับบุคคลไร้สถานะมีความสำคัญ เพราะในเงื่อนไขของการได้รับสถานะบุคคล จะมีได้ต่อเมื่อเรียนจบปริญญาตรี ทำคุณงานความดี และอยู่ในประเทศมากว่า 10 ปี แต่ในทางปฏิบัติกลับทำได้ยาก

แตกต่างกับเด็กเร่ร่อนในความดูแลของมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก จ.ขอนเเก่นเหล่านี้ แม้จะมีสัญชาติไทย แต่ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลับไม่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของพวกเขาได้ การส่งเสริมให้เรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพ พร้อมสอดแทรกบทเรียนชีวิต เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มูลนิธิฯ เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตของเด็กๆเหล่านี้

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2548 ระบุให้สถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับบุคคลที่ไม่หลักฐานทางทะเบียนราษฎร หรือ ไม่มีสัญชาติไทย ทุกระดับ พร้อมให้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัวให้กับสถานศึกษาที่รับเด็กกลุ่มนี้เข้าเรียน ในอัตราเดียวกับเด็กไทย สำหรับหลักฐานในการรับนักเรียนกลุ่มนี้ ก็ถูกระบุไว้อย่างชัดเจน ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2548 หากเด็กไม่มีหลักฐานใด ๆ ให้สถานศึกษาซักถามประวัติ แล้วบันทึกลงรายการแจ้งประวัติ เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางการศึกษาได้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง