ปลุกพลัง "ยกเลิกโทษประหาร" ผ่านเทศกาลหนังมีชีวิต

สังคม
10 ต.ค. 55
16:38
213
Logo Thai PBS
ปลุกพลัง "ยกเลิกโทษประหาร" ผ่านเทศกาลหนังมีชีวิต

"แอมเนสตี้ ประเทศไทย" จัดเทศกาลหนังมีชีวิต เนื่องในวันครบรอบ 10 วันยุติโทษประหารชีวิตสากล (10ต.ค.55) ถ่ายทอดประเด็นปัญหา "ต่อต้านกฏหมายประหารชีวิต" และหลากหลายแง่มุมผ่านหนังสารคดี พร้อมเสวนาสะท้อนปัญหาจากหนังสารคดี "Into the Abyss: A Tale of Death, A Tale of Life"

น.ส.ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลหนังมีชีวิตในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่เลือกใช้ภาพยนตร์ เป็นตัวกลางในการสื่อสาร เนื่องจากเห็นว่า ภาพยนตร์ให้ความบันเทิง มีความหลากหลาย ทำให้ผู้ชมเข้าถึงได้ง่ายกว่าสื่ออื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจ และความตระหนักรู้ โดยในครั้งนี้ ได้เสนอประเด็น การต่อต้านกฏหมายประหารชีวิต และความบกพร่องของกฏหมาย โดยหนึ่งในภาพยนตร์ที่เลือกมาฉายนั้น คือ ภาพยนตร์สารคดี เรื่อง  Into the Abyss: A Tale of Death, A Tale of Life เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักโทษประหารชีวิตที่กำลังจะถูกประหารชีวิตในอีก 8 วันข้างหน้า โดยภาพยนตร์ได้เล่าเรื่องราวความรู้สึก และที่มาที่ไปของเหตุการณ์ผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุทั้งหมด

ทั้งนี้ สาเหตุที่เลือกภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ ในเรื่องมีความหลากหลาย และให้พื้นที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ทั้งที่สนับสนุนการประหารชีวิต และไม่สนับสนุนวิธีดังกล่าว ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ ต้องการให้ทุกคนตระหนักเห็นว่า ทุกคนบนโลกนี้มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ไม่มีใครดีหรือชั่ว 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังต้องการสะท้อนมุมมองของกระบวนการยุติธรรม และให้ผู้ที่ได้ชมภาพยนตร์ ได้เห็นมุมมองที่หลากหลาย

 

<"">
 
<"">

ด้านดร.นอร์แบร์ท ชปิทซ์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ที่ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเยอรมันได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผูชมเกิดความตระหนักต่อโทษประหารชีวิตที่นักโทษคนหนึ่งได้รับ และยังมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องได้สร้างตามมา เช่น The Chamber, The Green Mile ดร.นอร์แบร์ท ได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ไม่มีใครรู้ว่าจะต้องตายเมื่อไหร่และอย่างไร มีแต่นักโทษประหารเท่านั้นที่รู้

น.ส.วันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาพยนตร์นั้นได้แสดงถึงความซับซ้อนในความคิดของตัวละครในเรื่อง เห็นปัญหาของแต่ละคน และเห็นความคับข้องของในตัวกฏหมาย มีข้อถกเถียงว่า กฏหมายการประหารชีวิต เปรียบกับรัฐบาลเป็นอาชญากร ด้วยการใช้อำนาจ ใช้สิทธิที่มีอยู่ ทั้งนี้ หากมองในมุมญาติของเหยื่อผู้ถูกกระทำ กฏหมายประหารชีวิต ก็เหมือนเป็นการช่วยคลี่คลายความเศร้าใจและความทุกข์ ทั้งนี้ รัฐบาลที่มีกฏหมายประหารชีวิต มักจะทำให้ประชาชนเชื่อว่า สิ่งนี้จำเป็นต้องทำ เป็นจิตวิทยา เหมือนเชือดไก่ให้ลิงดู จึงควรต้องคำถามว่า มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน หรือมีทางเลือกอื่นอีกบ้างมั้ย อย่างไรก็ตาม เราทุกคนในสังคมควรมีสิทธิ์ และมีส่วนในความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย

 

<"">
 
<"">

ขณะที่นายอภิรัตน์ มั่งสาคร หนึ่งในผู้เข้าร่วมชมภาพยนตร์ กล่าวภายหลังได้รับภาพยนตร์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนต้นเหตุของปัญหา ทุกคนล้วนมีโอกาสผิดพลาด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาความรุนแรง ด้วยการได้รับโทษประหารชีวิต เพราะไม่มีใครตั้งใจเกิดมาเพื่อเป็นคนเลว และหากได้รับโอกาสที่จะแก้ไข ก็มั่นใจว่าทุกคนจะตั้งใจใช้โอกาสนั้นทำให้ดีที่สุด

ทั้งนี้ ภายในงานมีการแสดงของกลุ่มใบไม้ไหว บอกเล่าประวัติ รายละเอียดของโทษประหารชีวิตออกมาเป็นรูปแบบละครอย่างเข้าใจง่าย มีเสียงไวโอลินบรรเลงสอดรับจังหวะสร้างความตื่นเต้นและความเศร้า นักแสดงซึ่งปรับเปลี่ยนบทไปตามเหตุการณ์ที่สร้างขึ้น เพื่อประกาศเจตนารมณ์ว่า โทษประหารชีวิตไม่ได้มีขึ้นเพื่อป้องกันอาชญากรรม และตั้งคำถามว่า การยุติความรุนแรงด้วยการใช้ความรุนแรง จะทำให้ความรุนแรงหมดไปจากโลกจริงหรือ?

สำหรับประเทศไทย ได้ยุติการประหารชีวิตไประหว่างปี 2546-2551 (ยังมีโทษอยู่แต่ไม่มีการนำนักโทษไปประหาร)  แต่ในวันที่ 24 ส.ค. 2552 มีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษชาย 2 คนที่เรือนจำบางขวาง คือ นายบัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และยานจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี ที่ถูกจับกุมข้อหาค้ายาเสพติดเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2544 และศาลตัดสินลงโทษประหารชีวติ โดยรายงานข่าวระบุว่า ทั้ง 2 คน ได้รับแจ้งล่วงหน้าเพียง 60 ปี ก่อนถูกประหาร

 

<"">
 
<"">

ในเดือนธันวาคม 2553 การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ มีมติสนับสนุนข้อตกลงชั่วคตราวเพื่อยุติการประหารชีวิต ซึ่งประเทศไทยได้งดออกเสียงชั่วคราวในที่ประชุม แต่ก็นับว่าเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่ง เพราะในปี 2550 และ 2552 ประเทศไทยได้ออกเสียง "ไม่รับรอง" ต่อคำประกาศยุติโทษประหารชีวิตชั่วคราว

โทษประหารชีวิตขัดต่อหลักปฏิญญาสากลข้อที่ 3 ที่ว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสระและปลอดภัย และข้อที่ 5 ที่ว่า ไม่มีใครมีสิทธิข่มเหงทารุณเรา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง