แฟชั่นสูทผู้ชายไทย ของปิแอร์ ตาลาม็อง

Logo Thai PBS
แฟชั่นสูทผู้ชายไทย ของปิแอร์ ตาลาม็อง

โดยทั่วไปการสวมชุดสูทก็เพื่อให้ดูภูมิฐาน แต่สำหรับดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง กลับใส่ใจมากกว่านั้น โดยให้ความสำคัญกับตัวตนของผู้สวมใส่ เป็นครั้งแรกที่เขาออกแบบเครื่องแต่งกายและชุดสูทให้ชายไทยและใส่ใจไปถึงรายละเอียดการดำเนืนชีวิต

โดย ทั่วไปการสวมชุดสูทนั้นก็เพื่อให้ดูภูมิฐาน แต่สำหรับดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง กลับใส่ใจมากกว่านั้นโดยให้ความสำคัญกับตัวตนของผู้สวมใส่ เป็นครั้งแรกที่เขาออกแบบเครื่องแต่งกายและชุดสูทให้ชายไทยและใส่ใจไปถึงราย ละเอียดการดำเนินชีวิต

สีเทาอ่อนที่เมื่อจับคู่กับกางเกงสีครีม ช่วยลดความเคร่งขรึมให้ นาวิน เยาวพลกุล หรือ นาวิน ต้าร์ ดูโดดเด่นบนแคตวอล์ค กว่าจะเป็นชุดสูท ที่ดูภูมิฐานทั้งงานออกแบบ และภาพลักษณ์ของผู้สวมใส่ ปิแอร์ ตาลาม็อง ดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศส ต้องศึกษาสรีระ บุคลิกหนุ่มไทย ลักษณะการใช้ชีวิต ไปจนถึงสภาพอากาศ

ชุดสูทที่ตัดเย็บจากผ้าขนแกะ ที่ถักทอด้วยเส้นด้ายขนาดบางพิเศษ พอๆกับเส้นผม เพื่อช่วยในการระบายเหงื่อ ซึ่งสัมผัสลื่นมือ ยังช่วยคงความคลาสสิกของชุดสูทอย่างตะวันตก โดยเพิ่มลูกเล่นบริเวณปกเสื้อ เหมือนที่หนุ่มเกาหลีและญี่ปุ่นกำลังนิยมในขณะนี้

ปิแอร์ เล่าว่า หากนำผ้าโพลีเอสเตอร์มาตัดเสื้อสูท จะทำให้ผู้ใส่ร้อนซึ่งไม่เหมาะกับอากาศเมืองไทย และหากใช้ผ้าเนื้อบาง สวมใส่สบายก็จริง แต่เนื้อผ้าที่ไร้น้ำหนักเกินไป ก็ทำให้ขึ้นรูปเสื้อสูทได้ยาก ผู้หญิง จะมีเดรสเยอะ แต่ผู้ชายกับสูทเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้ ย้อนกลับไปดูหนังเก่าๆ เห็นว่าผู้ชายที่ดูดีทุกคนใส่สูทกันหมด แล้วมันจะคลาสสิกทุกสมัย ขณะที่สูทตะวันตกจะดูเป็นทางการ ขณะที่สูทฝั่งเอเชียทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จะออกไปในทางแฟชั่น

สูท หลายคนอาจะคิดว่าต้องเป็นชุดที่ดูเป็นทางการ หรือเรียบร้อยโก้หรูนะคะ แต่สำหรับดีไซเนอร์บางคน ชุดสูทสามารถแฝงความสนุกสนานได้ด้วยเช่นกัน ดูจากสีสันที่เลือกนำมาใช้นะคะ ยิ่งการจัดแคตวอล์คแบบนี้ที่ให้เหล่านายแบบมาโชว์ตัวอย่างใกล้ชิดก็ดูเพลิด เพลินไปอีกแบบค่ะ

สีสัน ที่ตัดกันระหว่างเสื้อคลุมตัวนอกกับเสื้อเชิ้ตตัวใน ยังสะท้อนอุปนิสัยหนุ่มไทย ที่ไม่เพียงต้องดูภูมิฐาน แต่ปิแอร์ยังเห็น เสน่ห์ และความร่าเริงในตัว การเดินทางมาเยือนประเทศไทยเกือบ 10 ครั้ง ทำให้ปิแอร์ ประทับใจในงานศิลปะวัฒนธรรมของไทย และตัดสินใจกลับมาอีกครั้งเพื่อออกแบบเสื้อผ้าให้ชายไทยโดยเฉพาะ

หนุ่ม ใหญ่มาดเนี้ยบวัย 41 ปี เจ้าของธุรกิจน้ำหอม ที่หวงชีวิตโสด แต่ทางบ้านกลับอยากให้มีครอบครัว เรื่องราวทั้งหมดไม่เพียงสะท้อนผ่านการแสดงของพระเอกในภาพยนตร์ฝรั่งเศส เรื่อง Prete Moi Ta Main แต่เสื้อผ้าที่เข้ากับบุคลิก ยังมาจากการใส่ใจในทุกรายละเอียดของดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสคนนี้

ปิแอร์ บอกว่า การออกแบบชุดสูทในภาพยนตร์ แตกต่างจากชุดที่เห็นบนแคตวอค เพราะต้องศึกษาบท และทำความเข้าใจตัวละครอย่างลึกซึ้งก่อนวางแผนตัดเย็บ ซึ่งถูกตีกรอบมากกว่าการออกแบบในคอลเล็คชั่น

จุดเเข็งเรื่องวัสดุทอผ้าที่มีคุณภาพดี และหาได้ง่าย ทำให้ประเทศไทยเป็นที่สนใจของดีไซเนอร์ต่างชาติ หากมีการพัฒนามากขึ้น ทั้งการทอผ้าให้หลากหลาย และสนับสนุนดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักออกแบบต่างชาติ นี่เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะผลักดันให้ไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางแฟชั่นใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง