คดีเด็กมาตุฆาตของเด็กพิเศษ การดูแล อารมณ์ และความรุนแรง

อาชญากรรม
31 ต.ค. 55
13:54
754
Logo Thai PBS
คดีเด็กมาตุฆาตของเด็กพิเศษ การดูแล อารมณ์ และความรุนแรง

คดีเยาวชนก่อเหตุมาตุฆาต ถือเป็นอีกคดีที่ต้องช่วยกันขบคิดหาสาเหตุ และวิธีป้องกัน หลังจากครอบครัว ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากเยาวชนเคยป่วยด้วยอาการของเด็กพิเศษ แต่รักษาจนหาย และสามารถอยู่ในสังคมได้ ซึ่งนักจิตวิทยา กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก บอกว่าลักษณะนี้ถือเป็นคดีตัวอย่าง ที่ไม่เคยเกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมา ผู้ที่จะเหตุลักษณะนี้ ส่วนใหญ่มาจากปัญหายาเสพติด

เหตุเกิดภายในบ้านพักของเยาวชน ซึ่งผู้เสียชีวิตคือมารดา และผู้ได้รับบาดเจ็บคือพี่สาวที่อยู่ร่วมกัน เยาวชนที่ก่อเหตุอายุ 15 ปี ขณะนี้ถูกนำตัวไปตรวจหาสารเสพติด และควบคุมตัวที่ศูนย์เยาวชนมีนบุรี ก่อนจะส่งตัวไปศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อไต่สวนการจับ และพิจารณาการให้ประกันตัว รวมทั้งการดำเนินคดีฆ่าบุพการีตายโดยเจตนา

พ.ต.ต.ประยุทธ พึ่งเคหา พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลประเวศ เปิดเผยผลการสอบปากคำบิดา และพี่สาวเยาวชน ที่ก่อเหตุ พบว่าเยาวชนเคยมีอาการป่วยด้วยอาการออทิสติก หรือเด็กพิเศษ แต่ได้รับการรักษาจนหาย และสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ นอกจากนี้เยาวชนคนนี้ยังชื่นชอบการเล่นเกมส์ จนมารดาต้องตักเตือนบ่อยครั้ง

เพื่อนเยาวชนที่ก่อเหตุ ให้ข้อมูลทีมข่าวไทยพีบีเอส ว่า อาการของเยาวชนที่ก่อเหตุ เป็นปกติ แต่มีเพื่อนน้อย เรียนเก่งแต่ไม่ขยัน เคยเล่าว่า เคยทำร้ายร่างกายมารดา มาแล้ว แต่ไม่รุนแรง ชอบเล่นเกมส์ทั้งที่บ้าน และร้านเกมส์

ขณะที่นักจิตวิทยา กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน วิเคราะห์พฤติกรรมเด็กจากข้อมูลที่ได้รับ อาจมาจากการควบคุมอารมณ์ ที่เคยมีอาการของเด็กพิเศษ ซึ่งเด็กเหล่านี้ จะไม่แสดงอาการออกทางสีหน้า และอารมณ์ แต่พอมีอะไรมากระทบจิตใจก็จะแสดงออกโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แม้บางคนจะได้รับการรักษาจนหายแต่ก็อาจมีอาการเกิดขึ้นอีก

ส่วนข้อมูลการติดเกมส์ หรือการเลียนแบบ พฤติกรรมจากเกมส์ นักจิตวิทยาก็มองว่า เป็นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งต้องพูดคุยกับเยาวชน และผู้ปกครอง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและแนวทางบำบัดฟื้นฟู

มีข้อมูลจาก โครงการร้านเกมส์สีขาว ที่นำเปิดเผยผลการวิจัย จากต่างประเทศ ที่ศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมส์ออนไลน์ระบุว่า เด็ก และวัยรุ่นที่เล่นเกม จนติดเกมส์ จะมีพฤติกรรมคล้ายผู้ป่วยติดสารเสพติด และผู้ป่วยติดการพนัน คือมีความเพลิดเพิลงใจในเวลาเล่น และพอใจเมื่อได้รับชัยชนะ จึงต้องการเล่นให้นานขึ้น และเอาชนะเพิ่มขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ และจะมีความหงุดหงิดกระวนกระวาย หรือมีอาการทางกายจากความเครียด เมื่อถูกขัดขวางการเล่น

ผลการวิจัยระบุว่าผู้ที่ติดเกมส์จะมีการหลั่งสารชนิดเดียวกับ แอมเฟตามีน ที่ผู้ติดยาเสพติดหลั่งออกมา โดยมีสาเหตุจากการมีพฤติกรรมซ้ำๆ ความรุนแรงของการเสพติดเกมส์แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ เริ่มต้น เด็ก และเยาวชน จะใช้เวลากับเกมส์มากกว่าการทำกิจกรรมอื่น ระยะที่ 2 เริ่มมีปัญหาขาดความสัมพันธ์กับครอบครัว ใช้เงินไปกับการเล่นเกมส์มากขั้น และระยะ 3 เป็นระยะร้ายแรง เด็ก และเยาวชนจะติดแบบติดยาเสพติด ไม่ทานข้าว ไม่เรียนหนังสือ และขาดสัมพันธ์ในครอบครัว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง