คณะอนุกก.คุ้มครองผู้บริโภค เสนอแผนยกเครื่องการทำงานของ กสทช.

Logo Thai PBS
คณะอนุกก.คุ้มครองผู้บริโภค เสนอแผนยกเครื่องการทำงานของ กสทช.

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม แถลงหลังการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในระยะเวลาเกือบ 1 ปี

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นว่า กสทช. ควรให้ความสำคัญกับการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจัง และจริงใจมากกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากอนุกรรมการฯพบว่า เกิดอุปสรรคและปัญหาในการทำงานจนเรียกว่าอยู่ในอาการสาหัส เห็นได้ชัดครึ่งปีที่ผ่านมาจากจำนวนเรื่องร้องเรียนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 469 เรื่อง แต่กลับที่ค้างการพิจารณาอยู่จำนวนกว่า แปดร้อยเรื่อง

ความเห็นของอนุกรรมการฯ ไม่มีประเด็นไหนเลยที่ถูกนำไปปรับปรุงในประกาศยกเว้นเรื่องคลื่น จากกำหนดไว้ 20 เป็น 15 วิธีคิดของ กสทช. สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภควิธีคิดของกลุ่มแบบนี้จะอันตรายเหมือนกันสังคมมอง ความเชื่อมั่นศรัทธา แม้กระทั่งอนุกรรมการยิ่งเป็น 0 ติดลบ จะเป็นอย่างไร ในฐานะที่เป็นอนุกรรมการและมีคนประเมินว่าเราได้ 0 ก็คงต้องพูด ตัวเลขออกไปแล้วว่า เรื่องร้องเรียนค้างอยู่ร้อยละ 80 มุมของนโยบายกสทช. ควรทำอย่างไรเพื่อลดเรื่องร้องเรียน เช่น การไม่บังคับใช้กฎหมาย ซี่งเป็นเรื่องนโยบายที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ มีเรื่องรอ้งเรียนที่ไม่เควรเกิดขึ้นมากเนื่องจากการขาดนโยบาย โดยเฉพาะเรื่องที่ผิดกฎหมายชัดๆเหตุใดจึงไม่บังคับใช้กฎหมาย เช่น พรีเพด

นางสาวสารี กล่าวว่า การย้ายฐานลูกค้าจาก 2จีไป 3จี กระบวนการคงสิทธิเลขหมาย บริษัทฯจะมีความสามารถบริษัทฯจะมีการดำเนินการอย่างไรเพื่อย้ายฐานลูกค้า ซึ่งเชื่อว่า เมื่อมี 3จีแล้ว กระบวนการคงสิทธิเลขหมายจะลื่นเพราะต้องการย้ายฐานลูกค้าตัวเองจาก 2จีไป 3จี เพราะไม่อยากจ่ายส่วนแบ่งรายได้เพราะเป็นประโยชน์ร่วม 3 บริษัท จากเดิมที่อาจเป็นประโยชน์ของบริษัทเพียงบริษัทเดียว จะมีมาตรการดูแลผู้บริโภคอย่างไร เพราะที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้ดีขึ้น แล้วเป็น ๓จีจะยิ่งหนักขึ้น และวัยที่จะมีปัญหาหนักคือ เด็ก และเยาวชน ขณะที่เมื่อเป็น 2 จี ยังไม่สามารถทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ดี

ทังนี้ เรื่องของนโยบายให้รวบรวม พรีเพด ปัญหาเรื่องการขาดมาตรการการควบคุมคุณภาพของบรอดแบนด์ ปัจจุบัน กสทช.ไม่กำกับบรอดแบนด์เลย ควรมีการดำเนินการเพื่อเอาอินเตอร์เน็ตเข้าไปกำกับ ตู้เติมเงิน เอสเอ็มเอสรบกวน คงสิทธิเลขหมาย อินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์ต มีปัญหาหลากหลายมากที่อนุฯเสนอความเห็นแต่ไม่เคยได้รับการแก้ไข การทำเรื่องไปถึง กทค. กสทช.แ ต่เรื่องไม่ได้รับการตอบสนอง การที่มีคนวิพากษ์ว่า เป็นสูนย์ก็น่าจะมาคุยกับอนุฯ เพราะจากที่เราขอคุยมาตลอดแต่...ไม่เช่นนั้น จะเหมือนเรื่อง ๓จีที่มีข้อเสนอไปมาก แต่กลับไม่เคยได้รับความสำคัญ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ในการประชุมจึงมีการสรุปทิศทาง เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานของ กสทช. โดย
1.อยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่ชัดเจน ที่เห็นว่ามีความอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมาย
2. การสนับสนุนการทำงานของคณะอนะกรรมการ ที่เห็นว่ามีอุปกสรรคในการทำงานของอนุฯมาก
3. การเสนอกความเห็นมาตรการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในหลายประเด็นแต่ไม่ได้รับการดำเนินการแลฃะการสนับสนุน เช่น บัตรเติมเงิน ตู้เติมเงิน
4. ตั้งขอสังเกตเรื่องนับเบอร์พอร์ต ซึ่งเราได้เสนอให้มีการปรับปรุงย้ายฐานลูกค้า แต่ขอให้จับตากไม่กระพริบว่า เพื่อมีการประมุล 3 จี คงสิทธิเลขหมายจะสามารถทำได้ทันที เพื่อลดส่วนแบ่งรายได้ที่จะจ่ายให้กับรัฐ คนส่วนใหญ่คิดว่า ถ้าประมุลแพงจะทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายแพง ซึ่งไม่ใช่ความเป็นจริง ชัดเจนว่าขณะนี้บริษัทจ่ายส่วนแบ่งรายได้ปีละ สี่หมื่นล้านแต่การประมูล๓จีทำให้รัฐ ๓ เจ้า เพียงไม่ถึง สามพันล้านเท่านั้น ผู้บริโภคจึงไม่ควรต้เองจ่ายแพง ผู้บริโภคต้องจ่ายถูกลง เพราะบริษัทจ่ายถูกลง 15 เท่า เพราะฉะนั้นต้องจ่ายถูกลงน้อยกว่า 15 เท่า
5. ควรมีการจัดทำชุดข้อมูล 3จี เพื่อให้ความรู้กับผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความเท่าทันกับการใช้บริการ
รท.คืนงบประมาณของปี 55 ไม่จัดการประชุมที่วาปีประทุมในพื้นที่ แต่กลับไม่มีงบประมาณ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง