ตรวจสอบผลงาน ผู้ว่า กทม. ก่อนหมดวาระ

12 พ.ย. 55
13:13
97
Logo Thai PBS
ตรวจสอบผลงาน ผู้ว่า กทม. ก่อนหมดวาระ

ในวันที่ 10 มกราคม 2556 จะครบวาระการดำรงตำแหน่งของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน ตลอดเวลา 4 ปีที่ผ่านมาหลายโครงการ สำเร็จตามนโยบายที่เคยประกาศไว้ แต่ก็ยังความเคลือบแคลงสัยของคน กทม. ว่า นโยบายการแก้ปัญหาจราจร ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้จริงหรือไม่ ขณะที่นักวิชาการระบบขนส่งมวลชน ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาจราจรในเมืองหลวง ไม่ควรหยิบยกมาเป็นนโยบายหาเสียงในสนามเลือกตั้งระดับท้องถิ่น

คำสัญญาว่า จะมุ่งมั่นให้ กทม. เป็นมหานครยิ่งใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมกับชูนโยบาย "ทั้งชีวิต...เราดูแล" ผ่านนโยบายเศรษฐกิจ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ และจราจร ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 ตลอดระยะเวลา 4 ปี

<"">
<"">

 

หน้าที่ในตำแหน่งของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หลายโครงการเป็นไปตามสัญญาที่ให้ไว้ แม้เสร็จในช่วงใกล้หมดวาระบ้าง โดยนโยบายเร่งด่วนโครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ เดินหน้าไปได้เกือบ 7,000 ดวง จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50,000 ดวงทั่วกรุงเทพมหานคร นโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียว ผลักดันได้ถึง 5,025 ไร่ เฉพาะเขตหลักสี่ ถือว่าเป็นพื้นที่สีเขียวมากที่สุด

ส่วนนโยบายต่อเนื่อง ทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อนหน้านี้ เห็นได้ชัดเจนจากโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที(BRT) สายแรก ของ กทม. เพื่อเพิ่มความสะดวกและเป็นทางเลือกใหม่ รองรับประชาชนฝั่งธนบุรี เชื่อมต่อเข้าสู่เมืองชั้นใน และเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้า และรถโดยสารประจำทาง โดย 2 ปี ที่ผ่านมา รถบีอาร์ที ประชาชนผู้ใช้บริการหลายคนยอมรับว่าถูกใจในความรวดเร็ว เพราะช่วยย่นระยะเวลาในช่วงโมงเร่งรีบได้มาก

<"">
<"">

 

แต่สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในย่านเดียวกัน ยังมีมุมมองที่สวนทางกันว่า การปิดช่องจราจรเฉพาะของรถบีอาร์ที จากเดิมถนนที่มี 4 ช่องทาง เหลือเพียง 3 ช่องทาง ยิ่งทำให้การสัญจรช่วงเวลาคับขันวิกฤติมากขึ้น ดังนั้น บีอาร์ที จึงอาจไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาจราจร

ณรงค์ ป้อมหลักทอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านขนส่ง สถาบันทีดีอาร์ไอ นักวิชาการด้านระบบขนส่งมวลชน เชื่อว่า เป็นความล้มเหลวของความต่อเนื่อง และเป็นเพียงนโยบายที่นักการเมืองหยิบมาเป็นนโยบายหาเสียง สร้างความชอบธรรมและการแข่งขันกันเท่านั้น พร้อมกันนี้ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ รับฟังความเห็นรอบด้าน โดยเฉพาะข้าราชการที่มองเห็นนโยบายของฝ่ายการเมืองมาหลายยุคหลายสมัย รวมถึงน่าจะเป็นผู้รู้จักพื้นที่และรู้ปัญหาของ กทม. เป็นอย่างดี

<"">
<"">

 

ผู้อำนวยการวิจัยด้านขนส่ง ยังเห็นว่า การแก้ปัญหารถติดของเมืองหลวง ไม่ควรหยิบมาสร้างกระแสเรียกคะแนนเสียงจากประชาชนในสนามเลือกตั้ง เพราะกทม. แทบจะไม่มีอำนาจแก้ปัญหานี้โดยตรง และเห็นว่าปัญหาจราจรเป็นเรื่องของเทคนิคบริหารจัดการมากกว่านโยบาย

นโยบายด้านการจราจร อาจพูดได้ว่า กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะอิสระหรือสังกัดพรรคการเมือง เกือบทุกคนหยิบขึ้นมาชูเป็นนโยบายหลักรณรงค์หาเสียง หวังชนะใจคนเมืองกับปัญหาที่ใกล้ตัว ไม่เพียงแค่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ คนปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระ หรือนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายสมัคร สุนทรเวช นายพิจิตร รัตตกุล ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง หรือแม้กระทั่งสนามเลือกตั้งระดับชาติ เช่น อดีตผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยประกาศแก้ปัญหาจราจรของคน กทม.ให้ประสบความสำเร็จภายใน 6 เดือนมาแล้ว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง