ศิลปินต้านการลดค่าลิขสิทธิ์วิทยุอินเทอร์เน็ต

Logo Thai PBS
ศิลปินต้านการลดค่าลิขสิทธิ์วิทยุอินเทอร์เน็ต

ขณะที่การฟังวิทยุอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก แต่ค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจ่ายให้กับค่ายเพลงถึงครึ่งของรายได้ทำให้หลายสถานี สนับสนุนให้มีการลดค่าลิขสิทธิ์สำหรับวิทยุอินเทอร์เน็ต แต่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยคือศิลปินวงการเพลงที่มองว่าทำให้พวกเขาสูญเสียราย ได้อันชอบธรรมที่ควรได้รับ

ไม่ว่าจะหาเพลงโปรดอย่างรวดเร็วผ่าน Spotify ผู้ให้บริการเพลง On-demand ชั้นนำของโลก หรือให้สถานีเลือกเพลงโปรดให้ผ่าน Pandora สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ตอันดับ 1 ของอเมริกา ต่างเป็นช่องทางที่แฟนเพลงในสหรัฐฯ เลือกใช้ฟังเพลงในทุกวันนี้ ข้อเสียเปรียบที่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์มากกว่าสถานีวิทยุทั่วไป นำไปสู่การสนับสนุนให้มีการร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมของวิทยุอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบัน สถานีวิทยุอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เป็นเงินกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดให้กับค่ายเพลง โดยไตรมาตรที่ 2 ของปีนี้ (55) Pandora ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ไปแล้วถึง 60 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สถานีวิทยุแบบเคเบิลจ่ายค่าลิขสิทธิ์แค่ร้อยละ 15 ส่วนสถานีวิทยุแบบดาวเทียมจ่ายเพียงร้อยละ 8 จากรายได้ทั้งหมด โดยพระราชบัญญัติที่ได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครตและรีพับลิกัน ต้องการให้มีการปรับลดค่าลิขสิทธิ์ของวิทยุอินเทอร์เน็ตให้เหลือเท่ากับ สถานีวิทยุทั่วไป เพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรมกว่าในปัจจุบัน

แนวคิดนี้กลับถูกคัดค้านจากศิลปินเพลงซึ่งได้ร่างจดหมายลงชื่อเปิดผนึกกว่า 120 คนนำโดย เคที เพอร์รี,รีฮานน่า,เจสัน มาราซ,ซีโล กรีนและวงพิงค์ ฟลอยด์ เพื่อประท้วงการปรับลดค่าลิขสิทธิ์ที่จะทำให้ศิลปินต้องสูญเสียราย ได้จากเดิมถึงร้อยละ 85 ซึ่งความพยายามปรับลดค่าลิขสิทธิ์สวนทางกับการต่อสู้ของ musicFIRST องค์กรพิทักษ์สิทธิของนักดนตรี ที่มองค่าลิขสิทธิ์จากวิทยุอินเทอร์เน็ตเหมาะสมอยู่แล้ว แต่ควรขึ้นค่าลิขสิทธิ์สถานีวิทยุแบบดาวเทียมหรือเคเบิลมากกว่า

ตัวแทนของ Pandora ซึ่งเป็นการแกนนำเครือข่ายวิทยุอินเทอร์เน็ต กล่าวว่าการสร้างความเท่าเทียมในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในวงการวิทยุ จะทำให้วิทยุอินเทอร์เน็ตสามารถเติบโตอย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งผู้ฟังและตัวศิลปิน ในการมีช่องทางนำเสนอผลงานเพลงที่หลากหลายยิ่งขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง