นักวิชาการ-นักกฎหมาย เสนอปรับกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ให้ครอบคลุมมากขึ้น

23 พ.ย. 55
13:38
386
Logo Thai PBS
นักวิชาการ-นักกฎหมาย เสนอปรับกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ให้ครอบคลุมมากขึ้น

กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ปี 2550 ที่ไม่ถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งมาจากข้อบกพร่องในเนื้อหา ส่งผลให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมาย ซึ่งนักวิชาการและนักกฎหมาย เสนอว่า ควรจะต้องปรับแก้กฎหมายบางมาตรา เพื่อให้มีเนื้อหาครอบคลุมมากขึ้น

<"">
<"">

 

เครือข่ายภาคประชาชนด้านเด็ก สตรี และครอบครัว ยื่นขอเรียกร้องต่อ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา สบ.10 ในฐานะผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เร่งบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ปี 2550 อย่างจริงจัง แม้กฎหมายนี้จะใช้มาแล้ว 5 ปี แต่ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี ไม่ลดลงแต่กลับเพิ่มขึ้น จาก 23,000 คนในปี 2552 เป็น 27,000 คน ในปี 2554 สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่รู้ข้อกฎหมาย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติ

จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่ากฎหมานฉบับนี้มีข้อบกพร่องในหลายมาตรา อาทิ ยังไม่มีกลไกเยียวยาสภาพจิตใจผู้ถูกกระทำทำให้ผู้ถูกกระทำไม่กล้าแสดงตัว หรือเอาผิดกับคนในครอบครัว การกำหนดนิยามความรุนแรงในครอบครัวที่กว้างเกินไป ทำให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมาย อีกทั้งเจ้าหน้าที่ต้องมีบทบาทในฟื้นฟูสภาพจิตใจ มากกว่าการมุ่งดำเนินคดีอาญา

"ในทางกฎหมาย เราก็คิดว่าจะต้องเขียนว่า แม้ไม่ร้องทุกข์กระบวนการทางอาญายังดำเนินไม่ได้ แต่ให้กระบวนการช่วยเหลือทางสังคม ทางการเยียวยาผู้ถูกกระทำ และการหาทางช่วยแก้ปัญหาของครอบครัวเดินไปได้ ตามกลไกของกฎหมายนี้ แต่ตอนจัดทำกฎหมายครั้งแรก กฎหมายมันไปไม่ถึงว่า ผู้เสียหายจะไม่ใช้สิทธิ์"จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

<"">
<"">

 

กีระณา สุมาวงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา บอกว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ จัดทำข้อเสนอปรับแก้กฏหมายในบางมาตรา เช่น มาตรา 3 คำนิยามความรุนแรงในครอบครัว และบุคคลในครอบครัว ที่กำหนดไว้ไม่ครอบคลุม เจ้าหน้าที่มีปัญหาด้านการตีความ จึงควรพิจารณาเนื้อหารองรับการปฏิบัติงานจริง เพิ่มการคุ้มครองผู้สูงอายุ ปู่ ย่า ตา ยาย มาตรา 4 การกำหนดโทษผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ที่เห็นว่า บางกรณีผู้กระทำเป็นเด็ก ต้องนำกฎหมายอื่นที่ครอบคลุมมาพิจารณา เช่น กฎหมายคุ้มครองเด็ก ปี 2546

<"">

ส่วนมาตรา 5 การแจ้งต่อเจ้าหน้าที่หากพบการกระทำรุนแรงในครอบครัว ก็ไม่ระบุให้ชัดเจนว่าหน่วยงานใดรับผิดชอบ ขณะที่มาตรา 8 การสอบสวนกรณีความผิด ที่ต้องประกอบด้วยจิตแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ แต่ไม่ถูกนำไปปฏิบัติ ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่เชี่ยวชาญด้านความรุนแรง จึงใช้กฎหมายอาญาบังคับใช้เพียงอย่างเดียว

"พอไปหาตำรวจ บอกตำรวจว่า พี่..ผมโดนกระทำในบ้านของคู่รักผม หรือว่า แม่สามีตีอะไรแบบนี้ เอ๊ะ ตียังไง ตีตรงไหน ตำรวจอาจจะไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นมันจะมีการบ่ายเบี่ยงไม่ให้เกิดการมีความยุติธรรม ก็ถือว่ากฎหมายนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ" กีระณา สุมาวงศ์ รองประธาน กมธ.การพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา

สำหรับมุมมองภาคประชาชน ยังเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องไม่ละเลยในการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรง เสนอให้มีพนักงานสอบสวนหญิงทุกสถานนีตำรวจ เพื่อสะดวกต่อการรับแจ้งสำหรับกรณีของสตรี


ข่าวที่เกี่ยวข้อง