เปิดกระบวนการ "ทำประชามติ" กลลวงอ้างประชาชนมีส่วนร่วมแก้รธน.

16 ธ.ค. 55
13:27
112
Logo Thai PBS
เปิดกระบวนการ "ทำประชามติ" กลลวงอ้างประชาชนมีส่วนร่วมแก้รธน.

กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม เตรียมเสนอกรอบการทำประชามติ แก้รัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลที่จะหาข้อยุติ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 165 วงเล็บ 1 ของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดกรอบเวลาน้อยที่สุดเท่าที่กฎหมายกำหนด คือ 90 วัน

อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เชื่อว่า กระบวนการกลับไปกลับมาของรัฐบาล เป็นเพียงกลลวงที่จะอ้างอิงได้ว่า การแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 เป็นกระบวนการที่มีส่วนร่วมจากประชาชน

บริบททางการเมืองตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งการปรากฎตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, ความเห็นที่แย้งกันของบุคคลในรัฐบาล และกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีออกมาประกาศให้ไปศึกษาการทำ "ประชาเสวนา" หรือ "ประชามติ" ก่อนลงมติวาระที่ 3 ของร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ค้างการพิจารณาของรัฐสภา อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้รัฐธรรมนูญ ตามของเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เชื่อว่า เป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองแบบกลลวง เพื่ออ้างอิงว่า ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งที่เป้าหมายยังเหมือนเดิม คือการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ

 

<"">
 
<"">

การออกเสียงประชามติ หมายถึง กระบวนการในการแสดงความเห็นของประชาชน ด้วยการลงคะแนนออกเสียง เพื่อตัดสินใจว่า จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ก่อนจะนำมตินั้นไปตรากฎหมายหรือมีผลบังคับใช้ ซึ่งตามกระบวนการ หลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะต้องแจ้งเรื่องไปยังประธานวุฒิและประธานสภารับทราบ ก่อนนำเรื่องส่งต่อ กกต. เพื่อพิจารณาประกาศให้มีการออกเสียงประชามติในราชกิจจานุเบกษา และนับจากนั้นต้องกำหนดวันออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่า 90 และไม่เกินกว่า 120 วัน

มีรายงานว่า กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม เตรียมเสนอ ครม. วันอังคารนี้(18ธ.ค.55) ด้วยกรอบเวลาระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึง วันที่ 12 เมษายน ปี 2556 จะเป็นวันที่จัดลงมติ ซึ่งอยู่ภายในเวลาไม่เกิน 90 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้อยที่ตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมอ้างอิงเหตุผลตามมาตรา 165 วงเล็บ 1 ซึ่งการออกเสียงประชามติ เพื่อข้อยุติในเรื่องที่จัดทำ ซึ่งผลคะแนนจะต้องยึดเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ และจะต้องมีจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียงในครั้งนี้

ก่อนหน้านี้การออกเสียงประชามติ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อหาข้อสรุปในการแก้รัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา กำหนดเปิดให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีขอให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ในเรื่องที่อาจกระทบถึงผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนด้วย และล่าสุดคือการออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยมีจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั่วประเทศ 45 ล้านคน มีผู้มาออกเสียง 25 ล้านคน เห็นชอบ 14 ล้านคน ไม่เห็นชอบ 10 ล้านคน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง