"นายกฯ"สั่งจัดทำโซนนิ่งการเกษตร หวังพัฒนาครอบคลุมทุกจังหวัด

Logo Thai PBS
"นายกฯ"สั่งจัดทำโซนนิ่งการเกษตร หวังพัฒนาครอบคลุมทุกจังหวัด

นายกฯประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโซนนิ่งภาคการเกษตรพร้อมสั่งจัดทำแผนที่ฐานเพื่อให้ได้แผนที่ในมาตราส่วนเดียวกันรวมถึงจัดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างเศรษฐกิจและแนวทางพัฒนาจังหวัด

วันนี้ (19 ธ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเชิงปฎิบัติการบูรณาการจัดทำโซนนิ่งภาคเกษตรและทิศทางการพัฒนาภาคและการพัฒนากลุ่มจังหวัด โดยนายกฯได้สั่งการให้จัดทำแผนที่ฐาน (Master Map) โดยมอบหมายหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการทำแผนที่เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) หารือและบูรณาการจัดทำแผนที่ฐาน โดยให้เริ่มจากหน่วยงานที่มีข้อมูลแผนที่ซึ่งสมบูรณ์มากที่สุดเป็นฐาน เพื่อให้มีการบูรณาการเพื่อดำเนินการทับซ้อนกับข้อมูล แผนที่จากแต่ละหน่วย ที้งนี้แผนที่ควรอยู่ในมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ได้แผนที่ภาพรวมของประเทศ

ทั้งนี้ แบ่งออกได้ 3 กลุ่มได้แก่ 1.ด้านเศรษฐกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงเกษตรฯ และ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น 2.ด้านความมั่นคง หน่วยงานที่เดี่ยวข้องเช่น กระทรวงกลาโหม และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น 3. ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงเกษตรฯ

การจัดทำแผนที่ซับซ้อน (Layers) และโซนนิ่ง เพื่อจัดทำแผนที่โซนนิ่งภาคเกษตรที่มีความเหมาะสม เพื่อให้หน่วงงานส่งเสริมต่างๆเข้าไปสนับสนุน เพื่อให้การกำหนดโซนนิ่งบรรลุผลในทางปฏิบัติการจัดทำ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) มอบหมาย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.จัดทำ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ ในแต่ละพื้นที่โดยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ อีก 2 - 3 ครั้งโดยในครั้งต่อไป

การจัดทำยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดมอบหมายให้ สศช.จัดส่งข้อมูลโครงสร้างเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และ กพร.จัดส่งข้อมูลศักยภาพและตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้กระทรวงต่างๆเพื่อแปลงนโยบายของหน่วยงานในสังกัดที่จะลงไปดำเนินการในพื้นที่ และให้กระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้กำกับดูแลจังหวัดต่างๆแจ้งให้จังหวัดนำข้อมูล ดังกล่าวใช้ในการปรับยุทธศาสตร์และจัดทำข้อเสนอโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป

มอบหมายให้แต่ละจังหวัดนำข้อมูลของ สศช.และกระทรวงต่าง ๆ ปรับแผนและยุทธศาสตร์ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการรับการสนับสนุนงบประมาณโดยเน้นโครงการใน3ประเด็น ได้แก่การสร้างรายได้ การลดค่าใช้จ่าย เช่น การขนส่ง ต้นทุนการผลิต เป็นต้น การขยายโอกาสและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง