นักวิชาการแอฟริกาใต้ แนะรัฐสร้างโมเดลกำกับกิจการโทรคมนาคม ป้องกันกฎหมายขัดแย้ง

สังคม
20 ธ.ค. 55
10:19
103
Logo Thai PBS
นักวิชาการแอฟริกาใต้ แนะรัฐสร้างโมเดลกำกับกิจการโทรคมนาคม ป้องกันกฎหมายขัดแย้ง

รศ.ดร.อลิสัน กิลวอร์ จากประเทศแอฟริกาใต้ ควรพิจารณาสร้างโมเดลการกำกับดูแลการทำเทเลคอม ก่อนที่จะเริ่มเปิดประเทศเสรีอย่างเป็นทางการ ขณะที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุ กสทช. เตรียมออกใบอนุญาตการทำสถานีโทรทัศน์ และใบอนุญาตพื้นฐานในเดือนมกราคม 2556

รศ.ดร.อลิสัน กิลวอร์ จากประเทศแอฟริกาใต้ กล่าวถึง ปัญหาการขาดหายไปของการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมภายในประเทศว่า แม้ว่าในปัจจุบันการกระจายเสียงค่อนข้างที่จะประสบความสำเร็จ แต่กิจการโทรคมนาคมและสารสนเทศกลับมีกรอบกฎหมายที่ขัดแย้งกัน ส่งผลให้กระบวนการในการพัฒนาล่าช้า จึงต้องการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณาสร้างโมเดลในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ก่อนที่จะเริ่มเปิดประเทศเสรีอย่างเป็นทางการ

ขณะที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงความท้าทายของการเปลี่ยนโทรทัศน์ภาคพื้นดินไปยังระบบดิจิตอล ในยุค 3 จีว่า กสทช.เตรียมออกใบอนุญาตการทำสถานีโทรทัศน์ และใบอนุญาตพื้นฐาน ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 48 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทธุรกิจ 24 ใบอนุญาต ทีวีสาธารณะ และชุมชนอย่างละ 12 ใบอนุญาต ทั้งนี้ รายละเอียดของการประมูลนั้น ทาง กสทช. ยังไม่มีการเปิดเผย ซึ่งจะเตรียมเปิดเผยในเดือนมกราคม ปี 2556 โดยร่างข้อกำหนดของ กสทช. ยังมีประเด็นที่ขาดหายไป ในเรื่องของการออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับคลื่นโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน และราคาตั้งต้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า รวมไปถึง การกำหนดให้ผู้ประกอบการ 1 คน สามารถประมูลใบอนุญาตได้สูงสุดไม่เกิน 3 ใบ

ดร.สมเกียรติ ยังกล่าวอีกว่า มีความสงสัยในการขอใบอนุญาตแบบมัลติพลิเซอร์ โดยเฉพาะกรณีของการประกอบธุรกิจกฏหมายให้ประมูลกัน เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรจำกัด ต้องหาวิธีการจัดการจัดสรร โดยใช้วิธีการประมูล แต่มัลติพลิเซอร์ไม่มีการจำกัด แต่ กสทช.ยังไม่อนุญาต ซึ่งอาจมีความกังวลถึงเรื่องของคุณภาพของการออกอากาศ นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่จะเปลี่ยนไปเมื่อก้าวสู่ระบบดิจิตอล คือ ระบบของการขออนุญาต และค่าบริการจะเปลี่ยนไป รวมไปถึงการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง