ชมภาพ "เหมายัน" หรือ winter solstice ในซีกโลกเหนือที่ผ่านมา

สิ่งแวดล้อม
21 ธ.ค. 55
02:59
403
Logo Thai PBS
ชมภาพ "เหมายัน" หรือ winter solstice ในซีกโลกเหนือที่ผ่านมา

ตามหลักฐานทางโบราณคดี มนุษย์รู้จักสร้างปฏิทินก่อนการประดิษฐ์ตัวอักษร โดยใช้ข้อมูลดาราศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการกำหนดช่วงเวลา ซึ่งอ้างอิงกับสิ่งที่เห็นบนท้องฟ้า คือ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ พวกเขาใช้ก้อนหินขนาดใหญ่เรียงตัวกันเป็นสัญลักษณ์ เช่น กองหินลึกลับ สโตนจ์เฮ้นจ์ ที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นตรงกับแท่งหินตรงกลาง ซึ่งมีความเชื่อว่าการไปชมปรากฏการณ์นี้จะทำให้โชคดีตลอดปี

 

<"">
<"">
 

อีกที่หนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในการไปชมพระอาทิตย์ขึ้นวันเหมายัน คือที่ประเทศไอร์แลนด์ มีกองหินที่เรียกว่านิวเกรนจ์ นักโบราณคดีเชื่อว่ามีอายุประมาณ 3,200 ปี ก่อนคริสตกาล กองหินนี้มีรูปร่างเหมือนกระทะทรงกลมคว่ำ มีช่องให้แสงอาทิตย์ตอนเช้าของวันเหมายัน ส่องลึกเข้าไปตามทางเดินแคบ ๆ นอกจากนี้ Karnak Temple ในอียิปต์ ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงประตูใหญ่พอดี

สำหรับประเทศไทย ถ้าขึ้นไปที่ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร ตอนเช้าตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นตรงกับตำแหน่ง ทิศใต้สุด ของสุริยะปฏิทิน ถ้าปราสาทหลังนี้สร้างเสร็จตามโครงการของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม หรือเขมรโบราณ ดวงอาทิตย์ตอนเช้าจะส่องแสงตรงเข้าสู่หน้าต่างบานทิศใต้สุดของปราสาท

 
 

<"">
 
<"">

 
   


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง