เร่งขยาย"โรงไฟฟ้าชีวมวล" กระเทือนสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม
21 ธ.ค. 55
08:20
736
Logo Thai PBS
เร่งขยาย"โรงไฟฟ้าชีวมวล"  กระเทือนสิ่งแวดล้อม

สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเสนอล้อมคอกทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ทุกแห่ง สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ แนะรัฐแก้กฎหมายบังคับโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ทำ EIA หลังพบหลีกเลี่ยงเพียบ

 เวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีการพิจารณาวาระ "การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล" โดยภาคีเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรแก้ไขประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2552 ที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปเท่านั้น ที่ต้องรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากมีผู้ประกอบการอาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าว จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าที่มีขนาด 9.0-9.9 เมกะวัตต์ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำอีไอเอ

และยังมีข้อเสนอแก้ไขร่างมติที่น่าสนใจ อาทิ เสนอให้กำหนดระยะเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าให้ชัดเจนว่าต้องห่างจากชุมชนเป็นระยะทาง 3-5 กิโลเมตร รวมทั้งให้เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ โดยเสนอให้ถอนใบอนุญาต และผู้เสียหายสามารถฟ้องแพ่ง-อาญาได้ พร้อมกันนี้ ควรให้นักวิชาการที่ผ่านการคัดเลือกจากชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการทำวิจัย และห้ามนำของเสียจากโรงไฟฟ้าออกจากโรงงาน

จากนั้นมีการพิจารณาระเบียบวาระ "การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ" โดยมีข้อเสนอในที่ประชุมให้จัดทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันและปัญหาไฟป่า

ขณะที่เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอน เสนอว่าต้องเร่งรัดนำภูมิปัญญามาใช้ เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักป่าอย่างแท้จริง เนื่องจากป่ามีหลายชนิด บางชนิดเผาได้ บางชนิดเผาไม่ได้ บางชนิดเผาได้เฉพาะตอนกลางคืน

ด้านผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขอแก้ไขที่จะไม่เป็นองค์กรหลักในการประสานกับหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ตามที่ระบุไว้ในร่างมติดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่ภารกิจของ สสส.

นอกจากนี้ เวทีประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีการพิจารณาวาระ "การป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล" โดยภาคีเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรแก้ไขประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2552 ที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปเท่านั้น ที่ต้องรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากมีผู้ประกอบการอาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าว จัดทำโครงการโรงไฟฟ้าที่มีขนาด 9.0-9.9 เมกะวัตต์ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำอีไอเอ

และยังมีข้อเสนอแก้ไขร่างมติที่น่าสนใจ อาทิ เสนอให้กำหนดระยะเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าให้ชัดเจนว่าต้องห่างจากชุมชนเป็นระยะทาง 3-5 กิโลเมตร รวมทั้งให้เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ โดยเสนอให้ถอนใบอนุญาต และผู้เสียหายสามารถฟ้องแพ่ง-อาญาได้ พร้อมกันนี้ ควรให้นักวิชาการที่ผ่านการคัดเลือกจากชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการทำวิจัย และห้ามนำของเสียจากโรงไฟฟ้าออกจากโรงงาน

จากนั้นมีการพิจารณาระเบียบวาระ "การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ" โดยมีข้อเสนอในที่ประชุมให้จัดทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันและปัญหาไฟป่า

ขณะที่เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอน เสนอว่าต้องเร่งรัดนำภูมิปัญญามาใช้ เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักป่าอย่างแท้จริง เนื่องจากป่ามีหลายชนิด บางชนิดเผาได้ บางชนิดเผาไม่ได้ บางชนิดเผาได้เฉพาะตอนกลางคืน

ด้านผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ขอแก้ไขที่จะไม่เป็นองค์กรหลักในการประสานกับหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน ตามที่ระบุไว้ในร่างมติดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่ภารกิจของ สสส.



ข่าวที่เกี่ยวข้อง