"โน้ตอักษรเบรลล์" ดนตรีเพื่อผู้พิการ

Logo Thai PBS
"โน้ตอักษรเบรลล์" ดนตรีเพื่อผู้พิการ

เพราะเข้าใจถึงความลำบากของนักดนตรีผู้พิการทางสายตาด้วยกัน ยงสิทธิ์ ยงค์กมล เยาวชนไทยที่เคยไปคว้ารางวัลด้านดนตรีจากสหรัฐมาแล้ว จึงคิดหาวิธีดัดแปลงเนื้อเพลงคลาสสิคของศิลปินดัง มาเป็นโน้ตอักษรเบรลล์เพื่อให้เพื่อนนักดนตรีผู้พิการได้เข้าถึงโน้ตเพลงได้ง่ายและเร็วขึ้น

ภูมิใจกว่าทุกครั้ง เพราะบทเพลงอมตะ คอนแชโต้ อาฟเตอร์เกลีย ที่เที่ยงสิทธิ์ ยงค์กมล บรรเลงด้วยแซคโซโฟนคู่ใจ มาจากโน้ตอักษรเบรลล์ที่ดัดแปลงขึ้นเอง กว่า 3 สัปดาห์ที่เขาและเพื่อนช่วยกันแปลงเนื้อเพลงด้วยการใส่ทำนองดนตรีด้วยโน้ตสากล ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สั่งการด้วยระบบเสียง เพื่อแปลงออกมาเป็นตัวโน้ตอักษรเบรล

ความยากอยู่ที่การทวนโน้ตเพลงทั้งหมดให้ถูกต้องตามหลักทฤษฏีสากล แล้วใช้ปรินเตอร์เฉพาะสั่งพิมพ์เป็นอักษรเบรลล์ออกมา นี่เป็นโอกาสสำคัญที่นักดนตรีผู้บกพร่องทางการมองเห็นจะได้ลองเล่นบทเพลงของศิลปินดังระดับโลก อย่าง คัชชาเบล เฟดเดอริก โชแปง โจฮันเซบาสเตียน บาส และเดวิด เดบัวแคนฟิว

<"">
<"">

 

"ยังไม่เคยมีใครที่จะทำโน้ตออกมาเพื่อช่วยจำ เป็นในเชิงทฤษฎี" ยงสิทธิ์ ยงค์กมล นศ.คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลังมหิดล

"เราก็อยากช่วยครับ เพราะเขามองไม่เห็น ไม่สามารถเล่นดนตรีไปด้วยได้เหมือนเรา ถ้าไม่มีโน้ตแบบนี้ เขาต้องเปิดซีดีฟัง หรือ แกะเพลงเอง ถ้าเราเรียนด้านดนตรี มีความรู้ด้านนี้ก็ควรแบ่งปันคนอื่น" ปิยพล อัศวกานญจนกิจ นศ.คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลังมหิดล

"ช่วยให้ผู้พิการด้วยกันเข้าถึงสื่อได้มากขึ้น" เป็นแนวคิด และคำสอนของอาจารย์สุกรี คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่ยงสิทธิ์จำได้แม่นยำ จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจจากความร่วมมือของเขา และแฟนเพลงคลาสสิค ของวงบางกอกแชลิตี้ออเครสตร้า ที่ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ จัดทำเว็บไซต์ brailles sheet music นำเนื้อเพลงอักษรเบรลมาแบ่งปันบนหน้าเว็บไซต์

สำหรับโน้ตอักษรเบรลล์ได้รับความสนใจ มีหลายคนเล่นเครื่องดนตรีต่างกันไป ทั้งแซคโซโฟน เปียโน กีต้าร์ ที่มาทิ้งโน้ตไว้ ให้น้องนิลช่วยเปลี่ยนเป็นตัวโน้ตอักษรเบรลล์ แบบนี้ก็ง่ายต่อการเรียนรู้มากขึ้น

<"">
<"">

 

จังหวะสนุกๆ ที่ต้องอาศัยทั้งความจำ และความว่องไวของนิ้วมือ ที่สัมพันธ์กับจังหวะเป่าลม ในบทเพลง Devil"s rag ของ jean Matitia พิสูจน์ความสามารถด้านดนตรีของยงสิทธิ์ให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ ภาพการแสดงบนเวทีคอนเสิร์ตที่วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ยงสิทธิ์เป็นหนึ่งในสองคน ที่ชนะเลิศการประกวด Vsa Young Sololist awards ครั้งล่าสุด

การประกวดที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการจากทั่วโลกได้ส่งวีดีโอแสดงความสามารถด้านดนตรีมาให้คณะกรรมการได้พิจารณา ทั้งคำชม และเสียงปรบมือหลังจบแสดงเป็นการให้เกียรติแก่กัน โดยมองข้ามเรื่องความบกพร่องทางร่างกาย แม้ไม่อาจมองเห็นผ่านสายตา แต่ประสบการณ์จริงที่ได้สัมผัสมา ยงสิทธิ์จะใช้ต่อยอดด้านการศึกษา ความฝันในการจบปริญญาเอก ด้านดนตรีปฏิบัติ คงไม่ยากเกินไปสำหรับนักดนตรีที่ใช้ใจบรรเลงคนนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง