"เฉลิม"เตรียมหารือกองทัพวางบทบาท "ศปก.กปต." แก้ปัญหาใต้ 15 ก.พ.นี้

การเมือง
4 ก.พ. 56
06:29
42
Logo Thai PBS
"เฉลิม"เตรียมหารือกองทัพวางบทบาท "ศปก.กปต." แก้ปัญหาใต้ 15 ก.พ.นี้

วันนี้ ( 4 ก.พ.) ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มแนวร่วมก่อความไม่สงบก่อเหตุยิงครูอาสา ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ว่า จะแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวหลังในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ภายหลังการหารือกองทัพบก และศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศปก.กปต.เพื่อวางบทบาทหน้าที่ของ ศปก.กปต.ว่ามีบทบาทอย่างไร และจะมีการแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน

ร.ต.อ.เฉลิม ยังระบุว่า ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงและมีอันตรายต้องเน้นการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมายังมีแนวคิดที่ไม่ตรงกันในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และในพื้นที่อันตรายเห็นควรว่าควรใช้ ตำรวจตระเวนชายแดน หรือ ตชด.เนื่องจากสามารถพกพาอาวุธได้ป้องกันตนเองได้ และป้องกันครูในโรงเรียนได้ รวมถึงจากการศึกษาก็พบว่า การใช้กำลังเจ้าหน้าที่จากภาคอื่นลงพื้นที่ เมื่อเกิดเหตุต่าง ๆ อาทิ การยิงคนในพื้นที่โดยทำตามหน้า ก็มักจะมีการชุมนุมประท้วงของประชาชนในพื้นที่ แต่หากเจ้าหน้าที่ถูกยิงก็จะไม่มีปฏิกิริยาดังกล่าวและก็เพียงนำศพส่งกลับ ภูมิลำเนา ซึ่งหากให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ดูแลจะสามารถดูแลได้ดีกว่า และการติดอาวุธที่ทันสมัยก็สามารถทำได้และต้องมีความไว้ใจประชาชนซึ่งจะต้อง หารือกับกองทัพต่อไป

รองนายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ในวันที่ 4- 9 ก.พ.นี้จะเตรียมเข้าหารือกับ นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จากการประสานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. เนื่องจากมีบารมีที่สามารถพูดได้ และ โดยในวันที่ 21 ก.พ.นี้จะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาเลเซีย ซึ่งต้องใช้แนวทางการระหว่างประเทศจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่เสริมจากแนวทางเดิมที่ทหารและตำรวจได้ใช้อยู่ รวมถึงการพูดคุยกับสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ซึ่งได้รับการอนุญาติจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แล้วโดยจะช่วยให้สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องได้

รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า นายราจิบ ราซัคนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แนะนำว่า ดร.มหาเธร์ได้รับมอบหมายให้ดูแลเศรษฐกิจตามแนวชายแดน และสามารถพูดจากับบุคคลได้เยอะ ดังที่ได้เห็นจาก กรณีของรัฐเคด้าร์ หรือไทรบุรี ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และการพูดคุยจะไม่ใช่การยกระดับปัญหา หรือนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน โดยการพูดคุยก็เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าไม่ได้สร้างความ รุนแรงตามที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบพยายามสร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง