สื่อกระแสหลักยังไม่พัฒนา “ความเป็นพลเมือง” เสนอให้พึ่งสื่อทางเลือกและสื่อภาคประชาชน

สังคม
20 ก.พ. 56
17:12
224
Logo Thai PBS
สื่อกระแสหลักยังไม่พัฒนา “ความเป็นพลเมือง” เสนอให้พึ่งสื่อทางเลือกและสื่อภาคประชาชน

 จากผลการศึกษาเรื่อง“ความเป็นพลเมืองในสื่อหนังสือพิมพ์ : กรณีการผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ของมีเดียมอนิเตอร์ ซึ่งเป็นการศึกษาข่าวจากหนังสือพิมพ์และจากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ 6 ฉบับ คือ ไทยรัฐ มติชน เดลินิวส์ กรุงเทพธุรกิจ โพสต์ทูเดย์ และ ASTV ผู้จัดการ ในช่วงเวลาสำคัญ 2 ช่วง คือ วันที่ 9 สิงหาคม - 8 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงที่เครือข่ายผู้บริโภค ดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนหลากหลายรูปแบบเพื่อผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.นี้ ให้เข้าสู่สภาภายใน  60 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด  และ ช่วงวันที่ 5 กันยายน - 15 พฤศจิกายน 2555  ซึ่งเป็นช่วงประมาณ 70 วันแรก ในการทำงานของคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ...          

            
ผลการศึกษา พบว่า ด้านจำนวนข่าว ในช่วงที่มีการขับเคลื่อนเพื่อผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ.เข้าสภา มีจำนวนข่าวมากกว่าช่วง 70 วันแรกของการทำงานของคณะกรรมาธิการพิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ. โดย  ASTV ผู้จัดการ นำเสนอข่าวมากที่สุด (8 ข่าว) รองลงมาเป็นมติชน (5 ข่าว) และโพสต์ทูเดย์ (4 ข่าว)
ด้านวิธีการนำเสนอ โดยแบ่งการนำเสนอเป็น 5 ลักษณะ คือ
 
1) การนำเสนอในลักษณะการรายงานข่าว พบ ASTV ผู้จัดการ มีจำนวนมากที่สุด (5 ข่าว) รองลงมาเป็นมติชน (2 ข่าว) ในขณะที่เดลินิวส์และโพสต์ทูเดย์นำเสนอเท่ากัน (1 ข่าว)
            
3) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญหรือประโยชน์ของ (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ พบว่า  ASTV ผู้จัดการ มีจำนวนมากที่สุด (3 ข่าว) รองลงมาเป็นโพสต์ทูเดย์ (2 ข่าว) ในขณะที่มติชนและกรุงเทพธุรกิจนำเสนอเท่ากัน    (1 ข่าว)
 
4) การให้ข้อมูลสนับสนุน (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ ASTV ผู้จัดการ มีจำนวนมากที่สุด (5 ข่าว) รองลงมาเป็นโพสต์ทูเดย์ (2 ข่าว)
 
5) การนำเสนอข้อมูลที่สนับสนุนขบวนการขับเคลื่อนเพื่อผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ. พบว่า ไม่มีหนังสือพิมพ์ฉบับใดนำเสนอ
 
ขณะที่ ไทยรัฐ ไม่นำเสนอเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับเรื่อง (ร่าง) พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีสาระใน มาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550


ข่าวที่เกี่ยวข้อง