ธุรกิจอัญมณี-เครื่องประดับไทยในอาเซียน มีโอกาสเติบโตสูง

เศรษฐกิจ
23 ก.พ. 56
09:59
366
Logo Thai PBS
ธุรกิจอัญมณี-เครื่องประดับไทยในอาเซียน มีโอกาสเติบโตสูง

คาดปี 2556 ขยายตัวถึงร้อยละ 40 โดยตลาดอาเซียน เป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีศักยภาพในการบริโภคสินค้าราคาแพงอย่าง“อัญมณีและเครื่องประดับ” เพิ่มมากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์โอกาสและความน่าสนใจในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
 
- ผู้บริโภคในอาเซียนเปิดรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับภายในกลุ่มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับภายในอาเซียนมีความคึกคักมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า มูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ภายในอาเซียนปี 2556 จะน่ามีโอกาสพุ่งไปอยู่ที่ระดับ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องด้วยอัตราเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 20.0 ในช่วงปี 2556-2558
          
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังอาเซียน เติบโตแบบก้าวกระโดด แสดงให้เห็นว่า ไทยมีโอกาสสูงในการเข้าไปขยายตลาดรองรับการเติบโตของรายได้ประชากรและธุรกิจท่องเที่ยว 
 
ทั้งนี้ โอกาสทางการค้าและการลงทุนในอาเซียนส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่แหล่งกระจายสินค้า โดยประเทศเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่ม ASEAN-5 โดยกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจะเข้าไปเจาะตลาด ได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง วัยทำงาน และกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง หัวเมืองสำคัญ และเมืองท่องเที่ยว เป็นต้น
         
แม้ว่าไทยจะเป็นผู้เล่นหลักในตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่ติดอันดับ 1 ใน 15 ของโลก แต่สำหรับตลาดอาเซียนไทยยังให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย เนื่องจากพุ่งเป้าไปที่ตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐฯเป็นสำคัญ 
 
ขณะที่อาเซียนเป็นตลาดที่เล็กและกำลังซื้อยังไม่สูงมาก แต่จากการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ประกอบกับแรงหนุนจากการก้าวเข้าสู่ AEC ในอีก 2 ปีข้างหน้า น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยจะหันมาให้ความสนใจกับตลาดกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น 
 
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไปยังอาเซียนปี 2556 จะพุ่งไปอยู่ที่ระดับ 170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวถึงร้อยละ 40.0 (YoY) และน่าจะมีโอกาสพุ่งไปแตะที่ระดับ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 โดย Product Champion ได้แก่ เครื่องประดับแท้ เครื่องประดับเทียม เพชรและพลอยสี
          
นอกเหนือจากเป้าหมายทางการค้าแล้ว โอกาสจากการเป็นแหล่งวัตถุดิบและฐานการผลิตก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ การเข้าสู่ตลาดต้องวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้าน ทั้งประเด็นในเรื่องมาตรการทางการค้า ความแตกต่างของกฎระเบียบ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง