"บ่องตง" ศัพท์ฮิตติดแชทของวัยรุ่นสังคมออนไลน์ 2013

สังคม
14 มี.ค. 56
10:05
1,034
Logo Thai PBS
"บ่องตง" ศัพท์ฮิตติดแชทของวัยรุ่นสังคมออนไลน์ 2013

"บ่องตง" ใครไม่รู้จักศัพท์นี้ อาจเดาได้ว่าไม่ได้เล่น "เฟสบุ๊ค" หรือ "ทวิตเตอร์"

เพราะตอนนี้ว่า "บ่องตง" ที่มาจากคำว่า "บอกตรง ๆ" กลายเป็นคำศัพท์ที่หลาย ๆ คนใช้ในโลกออนไลน์ไปแล้ว ซึ่งไม่ต่างจากคำศัพท์อื่น ๆ เช่น เมพขิง ๆ ,จุงเบย, ดราม่า ,ฟิน รวมไปถึงวลีเด็ดต่าง ๆ อย่าง แก่ใจดีสปอต หรือ เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ ที่เคยเป็นคำยอดฮิตเมื่อปี 2012 ทั้งนี้ ยังไม่ทราบที่มาของคำว่ามาจากการพิมพ์ผิด, การลดทอนคำหรือไม่ อย่างไร

 
นอกเหนือจากคำว่า "บ่องตง" แล้วยังมีการแชร์ภาพของคำศัพท์ที่ลักษณะคล้าย ๆ กัน ในสังคมออนไลน์ คือมีการลดคำทอนคำ จากยาว 2 พยางค์ให้เหลือ 1 พยางค์ หรือ 3-4 พยางค์ให้เหลือ 2 พยางค์ เช่น ช่ะ จาก ใช่ป้ะ ที่มาจาก ใช่หรือปล่าว อีกทีหนึ่ง, อัลไล จาก อะไร, น่าร็อค จาก น่ารัก, ชิมะ จาก ใช่มะ ที่มาจาก ใช่มั้ย อีกทอดหนึ่ง เป็นต้น

 

    
 
นอกจากนี้ ยังมีหลาย ๆ คนที่มีได้ขึ้นสถานะ หรือสเตตัส การนำคำศัพท์นั้นมาล้อเลียน รวมไปถึงใช้คอมเม้นด้วยความว่า "บ่องตง" ขณะที่บางคนแสดงความเห็นถึงการใช้คำดังกล่าว รวมถึงคำอื่น ๆ ว่า ควรใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ขณะเดียวกันวงคาวบาวยังผลงานเพลงชื่อว่า "บ่องตง" ออกมาอีกด้วย

    

 
ทั้งนี้ น.ส.สุปัญญา ชมจินดา ผู้อำนวยการกรมวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ที่ระบุว่า ภาษามีการเปลี่ยนแปลงและสามารถเกิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ถือเป็นปกติอย่างยิ่ง หากแต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารคอยช่วยให้คำเหล่านั้นเผยแพร่เร็วขึ้น จึงก่อให้เกิดการใช้วงกว้าง และส่งผลให้รู้สึกว่ามีคำศัพท์เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก แต่การใช้คำก็ยังคงจำกัดอยู่ในการสื่อสารเฉพาะกลุ่มอยู่ดี เช่น เพื่อนกับเพื่อน 
 
เช่นเดียวกับ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เคยให้สัมภาษณ์ ถึงประเด็นการใช้คำศัพท์ยอดฮิตของวัยรุ่นไว้ว่า ที่จริงแล้วภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และไม่ถือว่าเป็นภาษาวิบัติ แต่ควรมีการใช้อย่างถูกกาละเทศะ และต้องไม่ลืมว่า คำศัพท์เหล่านั้นมาจากที่ใด เขียนอย่างไร

ภาพประกอบ : เพจ คิดว่าดีก็ทำต่อไป


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง