เรียนรู้ "นอนหลับอย่างมีคุณภาพ" ใน"วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day)

สังคม
15 มี.ค. 56
05:39
1,230
Logo Thai PBS
เรียนรู้ "นอนหลับอย่างมีคุณภาพ" ใน"วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day)
สมาคมการแพทย์ เพื่อการพักผ่อนหรือนอนหลับโลก หรือ World Association of Sleep Medicine ประกาศให้วันที่ 15 มีนาคม เป็น"วันนอนหลับโลก" (World Sleep Day) โดยระบุว่า ให้ประชากรของโลกพร้อมใจกัน "นอนหลับ"

สมาคมการแพทย์ระบุว่าการ "หลับ" เป็นความจำเป็นและมีความสำคัญต่อสุขภาพ ทุกวันนี้ คนเราใช้เวลานอนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ใน 14 ประเทศ กว่า 20,000 กว่าคนพบร้อยละ 27 มีปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะชาวอเมริกัน

 
นั่นชี้ให้เห็นถึง ประสิทธิภาพการตัดสินใจที่ลดน้อยลง จากการทำงานซับซ้อนมากขึ้น ทั้งยังส่งผลต่อการเกิดอาการโรคซึมเศร้า ไปจนถึงคิดฆ่าตัวตายอีกด้วย
 
ในทางการแพทย์ วิกีพีเดียระบุว่า การนอนหลับ เป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ แสดงลักษณะที่มีสติสัมปชัญญะลดลงหรือไม่มีเลย กิจกรรมรับความรู้สึกที่ค่อนข้างถูกงด และการขาดกิจกรรมของกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งหมด การนอนหลับต่างจากความตื่นตัวเงียบ ตรงที่สามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก 
 
การนอนหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การนอนหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด
 
แม้ความมุ่งหมายและกลไกของการนอนหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง  มักคิดกันว่า การนอนหลับช่วยรักษาพลังงาน  แต่แท้จริงกลับลดเมแทบอลิซึมเพียง 5-10%  สัตว์ที่จำศีลต้องการนอนหลับ แม้ว่าภาวะเมแทบอลิซึมต่ำจะพบได้ในการจำศีล และต้องเปลี่ยนกลับจากภาวะตัวเย็นเกินมาเป็นอุณหภูมิปกติของร่างกายก่อนจึงจะหลับได้ ทำให้การหลับ "มีราคาทางพลังงานสูง 
 
แต่ละช่วงอายุต้องการการนอนหลับต่อวันไม่เท่ากัน เด็กต้องการนอนหลับมากกว่าเพื่อให้ร่างกายพัฒนาและทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ทารกเกิดใหม่ต้องการนอนหลับถึง 18 ชั่วโมง และมีอัตราลดลงในวัยเด็ก
 
แต่ในส่วนของการอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอ ที่เรียกว่า "หนี้การนอนหลับ" (sleep debt) นั้น จะทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งยัง ทำให้ความสามารถในขบวนการคิดระดับสูงลดลง
ความผิดปกติของการหลับมีหลายอย่าง เช่น การนอนไม่หลับ (insomnia), ภาวะหยุดหายขณะหลับ (obstructive sleep apnea) ที่เกิดจากกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจของผู้ป่วยหย่อนขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจล้มเหลวและขวางการรับออกซิเจน และผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาจากภาวะหลับลึกเพื่อหายใจ และภาวะง่วงเกิน (narcolepsy) ที่ผู้ป่วยจะนอนหลับอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
 
ก่อนหน้านี้ วันนอนหลับโลก ถูกกำหนดเป็นวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี โดยองค์การอนามัยด้านประสาทและจิตเวชระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อค.ศ.2001 แต่ช่วงเวลาและเดือนดังกล่าว ในหลายประเทศเป็นระยะเปลี่ยนฤดูกาล จึงขอขยับวันให้เร็วขึ้นอีกเล็กน้อย เพราะสภาพอากาศ ที่ย่างสู่ฤดูใบไม้ผลิ เหมาะกับการพักผ่อนนั่นเอง
 
 
  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง