ราชทัณฑ์ชง"ข้อกำหนดกรุงเทพ" ..ดันมาตรฐานจำคุกผู้ต้องขัง

สังคม
22 มี.ค. 56
04:41
367
Logo Thai PBS
ราชทัณฑ์ชง"ข้อกำหนดกรุงเทพ" ..ดันมาตรฐานจำคุกผู้ต้องขัง

นักวิชาการเผยผลวิจัยเรื่องปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของผู้ต้องขังหญิง พร้อมนำข้อกำหนดกรุงเทพฯ มาใช้ในเรือนจำทั่วประเทศ

กระทรวงยุติธรรม จัดงานโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นในการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม เพื่อนำข้อกำหนดกรุงเทพฯ ไปสู่การปฏิบัติ ผ่านกรณีศึกษาเรือนจำหญิงที่ราชบุรี ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ  ตามโครงการกำลังใจ ในพระราชดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

<"">

 

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการกำลังใจในพระราชดำริฯ เปิดเผยว่า จากปัญหาของผู้ต้องขังหญิงที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกวัน โดยประเทศไทยมีผู้ต้องขังหญิงเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนมากอาชญากรรมของผู้หญิงไม่ได้เกิดขึ้นโดยตั้งใจ เช่น การสมรู้ร่วมคิดในการจำหน่ายยาเสพติด  ทำให้ผู้หญิงต้องเข้าเรือนจำตั้งแต่เด็ก ซึ่งจะทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องระบบความยุติธรรมทางอาญา และยังเน้นการจำคุกมากกว่าวิธีอื่น

เมื่อผู้ต้องขังหญิงมีจำนวนมากขึ้น และถูกส่งเข้าในเรือนจำซึ่งออกแบบให้สำหรับคุมตัวผู้ต้องขังชาย ทำให้ผู้ต้องขังหญิงไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆได้ เช่น เรื่องการศึกษา และสุขอนามัย ส่งผลให้ผู้ต้องขังหญิงเจอปัญหาหลายอย่างที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับการบริหารจัดการผู้ต้องขังหญิง รวมถึงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในเรือนจำต่อผู้ต้องขังหญิง เหมือนผู้ต้องขังชายโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเพศ

ดังนั้นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา ซึ่งมองเห็นปัญหาเรื่องการขาดโอกาสของผู้ต้องขังหญิงเรื่องนี้ จึงได้มีพระราชดำริในก่อตั้งโครงการกำลังใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจให้คนสังคมและผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง และการเสนอข้อกำหนดกรุงเทพฯ ซึ่งมีหลักการพื้นฐานคือ ผู้หญิงมีความต้องการทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรมแตกต่างจากผู้ชาย  ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553

โดยมีการศึกษาวิจัยโดยใช้กรณีศึกษาเรือนจำหญิงที่ราชบุรี ซึ่งมีความพร้อมในการนำข้อกำหนดกรุงเทพฯ มาใช้ในเรือนจำ โดยการใช้กิจกรรม เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องขังกับผู้บริหารเรือนจำ และการให้ศึกษา รวมถึงการพัฒนาทักษะอาชีพ

ซึ่งจากผลสรุปการศึกษา พบว่าผู้ต้องขังหญิงเห็นศักยภาพในตัวเอง, มีทัศนคติที่ดีขึ้น,มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และพร้อมในการกลับใช้ชีวิตภายนอกนอกได้

ด้านรศ.ดร.นภาภรณ์. หะวานนท์ จากบันฑิตวิทยาลัย ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อนำข้อกำหนดกรุงเทพฯ  ซึ่ง ว่าในงานวิจัยนี้ได้นำข้อกำหนดกรุงเทพฯโดยการเปิดพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ต้องขังกับเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างปลี่ยนความสัมพันธ์และความเข้าใจ. เช่น การฝึกอาชีพ และกิจกรรมทางสุขภาพ. เช่น การฝึกโยคะ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกับผู้ต้องขังชาย เพื่อให้ผู้ต้องขังหญิงในการพร้อมออกไปสู่โลกภายนอก ไม่ใช่การสั่งการอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา

ขณะที่นางอังคนึง เล็บนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านทัณฑวิทยา กล่าวถึงเรื่องข้อเสนอแนะของกรมราชทัณฑ์ต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพฯตามแนวทางวิจัย ว่า ที่ผ่านกรมราชทัณฑ์มีโครงการฟื้นฟูและหลักสูตรในการส่งเสริมผู้ต้องขังต่างๆ เช่น การส่งเสริมความรู้ด้านการศึกษาของผู้ต้องขัง ตั้งแต่ระดับชั้นประถม-ปริญญาโท  รวมถึงการฝึกอาชีพเพื่อประกอบในอนาคต เช่นการนวด การทำหัตถกรรม ให้ตรงกับต้องการของตลาดแรงงาน

ดร.เพ็ญสิริ. จีระเดชกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงการศึกษาของผู้ต้องขังว่า ผู้ต้องขังในเรือนจำส่วนมากมีระดับการศึกษาชั้นประถมเท่านั้น ซึ่งทางกรมราชภัณฑ์ได้จัดหลักสูตรการนอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัยให้ผู้ต้องขัง แต่หลักสูตรที่เน้นการท่องจำมากกว่าการนำไปใช้จริงในสังคม ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ จึงทำงานวิจัยด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้ต้องขัง

ผศ.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดเผยถึงงานวิจัยเรื่อง การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเรื่องบำบัดแบบองค์รวม โดยใช้วิธีการสอนโยคะให้ผู้ต้องขัง เพื่อให้ผู้ต้องขังเห็นความสุขจากตัวเอง เพราะการเล่นโยคะสมาธิ ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องขังให้ลืมทุกอย่าง และมีสมาธิกับสิ่งที่ทำ ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงกับผู้ต้องขัง คือผู้ต้องขังมีสมาธินิ่ง,สมารถลืมความเครียด,สงบ และอยู่ในกฎระเบียบมากขึ้น

ด้านนายเมธา  ธรรมพนิชวัฒน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าในศาลอุทธรณ์ สะท้อนมุมมองในวงการกฎหมายว่า ปัญหาของผู้พิพากษาคือการตัดสินคดีโดยไม่คำนึงถึงประวัติและภูมิลำเนาของผู้ต้องขังที่กระทำผิด ซึ่งข้อกำหนดกรุงเทพฯที่เกี่ยวข้องกับการตัดสิน คือข้อที่61 ระบุว่า เมื่อพิพากษาผู้กระทำความผิดหญิง ศาลต้องมีอำนาจในการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษ เช่น การไม่มีประวัติอาชญากร และความรุนแรงที่สัมพันธ์กันและความไม่รุนแรงที่สัมพันธ์กัน และลักษณะของการกระทำความผิดทงอาญา ควบคู่ไปกับภาระหน้าที่ของผู้หญิงในการดูแลครอบครัวและภูมิหลังทั่วไป  ซึ่งจะทำให้ศาลได้เห็นถึงความสำคัญในการตัดสินมากขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง