ฮิวแมนไรต์วอทช์แนะ 3 แนวทางแก้ปัญหาชาวโรฮิงญา

สังคม
14 พ.ค. 58
05:54
264
Logo Thai PBS
ฮิวแมนไรต์วอทช์แนะ 3 แนวทางแก้ปัญหาชาวโรฮิงญา

ฮิวแมนไรต์วอทช์แนะ 3 แนวทางแก้ปัญหาชาวโรฮิงญา โดยให้ 3 ประเทศอาเซียนร่วมมือจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือชาวโรฮิงญา และดึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ เข้ามารับดูแลในการคัดกรองและลงทะเบียนซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาด้านความมั่นคงและการค้ามนุษย์ได้

วันนี้ (14 พ.ค.2558) นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนประจำประเทศไทย (ฮิวแมนไรต์วอตช์) ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไทยพีบีเอสถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการอพยพของชาวโรฮิงญาในขณะนี้ว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นทางผ่านของชาวโรฮิงญาที่อพยพ ควรดำเนินการใน 3 ประเด็น คือ

1.การปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วเช่นการจับกุมผู้เกี่ยวข้องในขบวนการค้ามนุษย์ การสำรวจบุกค้น แหล่งพักพิงชาวโรฮิงญา ในพื้นที่ต่าง ๆ

2.การช่วยเหลือและคุ้มครองชาวโรงฮิงญา ควรให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ มาคัดกรองและตรวจสอบสถานะและดึงความช่วยเหลือจากนานาชาติมาดูแล เนื่องจากขณะนี้กฎหมายไทยยังไม่อนุญาตให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ มาคัดกรองและตรวจสอบสถานะ รวมทั้งให้สถานะการเป็นผู้ลี้ภัย ดังนั้นที่ผ่านมาจึงให้ชาวโรฮิงญาไปอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งสถานที่คับแคบและสภาพความเป็นอยู่ไม่ดีนักทำให้ชาวโรงฮิงญาบาส่วนป่วยและเสียชีวิต

3.เรียกร้องให้มีปฏิบัติการร่วมกันระหว่างประเทศตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 3 ปะเทศคือ ไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นทางผ่านและปลายทางของชาวโรฮิงญาร่วมกันช่วยเหลือทางทะเลแก่ชาวโรฮิงญา เช่นเดียวกับที่มีในยุโรป เนื่องจากขณะนี้มีเรือของชาวโรฮิงญาลอยลำอยู่กลางทะเลจไำนวนมาก ซึ่งเดินทางมาจากเมียนมาและบังคลาเทศอย่างต่ำ 8,000 – 10,000 คน ประกอบกับที่ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียมีนโยบายปิดน่านน้ำทำให้เรือเหล่านี้เข้าฝั่งไมได้ ซึ่งทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ และเลขาธิการองค์การสหประชาติได้เรีกยร้องให้เกิดความร่วมมือของทั้ง 3 ประเทศขึ้น

ในอดีตในปี 2008 ซึ่งมีการใช้นโยบายปิดน่านน้ำอย่างเข้มข้น เรือชาวโรฮิงญาล่มในทะเล มีศพลอยติดชายฝั่งประเทศต่าง ๆ หลายร้อยคน” สุณัย กล่าว

ดังนั้น ทั้ง 3 ประเทศร่วมจัดทำสถานที่ชั่วคราวโดยจัดขึ้นตามกรอบกติการะหว่างประเทศและมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติเข้าดูแลและทำงานร่วมกันกับทั้ง 3 ประเทศโดยนานาชาติจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายและหากชาวโรฮิงญาต้องการไปยังประเทศที่ 3 ควรให้องค์กรการย้ายถิ่นระหว่างประเทศเข้ามาดูแลแทนการใช้แนวทางของขบวนการค้ามนุษย์

สถานที่พักพิงชั่วคราสควรมีสถานที่กว้างขวาง มีการขึ้นทะเบียนเข้า-ออก ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง ป้องกันไม่ใช้ขบวนการค้ามนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง ป้องการเหตุประท้วง หรือกรณี่ผู้หญิงชาวโรฮิงญาถูกนำตัวออกมาและถูกล่วงละเมิดทางเพศ” สุณัย กล่าว

ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนประจำประเทศไทย ยังกล่าวว่า การเดินทางของชาวโรฮิงญาจากรัฐยะไข่ ของเมียนมาเพื่อหลบหนีเหตุรุนแรงในพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งในกรณีนี้ไม่สามารถส่งกลับเมียนมาได้เนื่องจากเมียนมาไม่รับชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นพลเมืองและขณะนี้ยังคงมีการก่อเหตุรุนแรงถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งข้อตกลงระหว่างประเทศไม่สามารถส่งกลับได้เนื่องจากมีเสี่ยงต่อการเผชิญอันตรายและเสี่ยงต่อชีวิต

ขณะที่การเดินทางของชาวโรฮิงญาที่มีสถานะเป็นพลเมืองบังคลาเทศซึ่งหากมีการตรวจสอบสอบว่าเป็นพลเมืองบังคลาเทศทางบังคลาเทศก็ยินดีที่จะรับกลับประเทศ

นายสุณัย กล่าวว่าเสริมว่า การที่ไทยดำเนินการการกวาดล้างการค้ามนุษย์ อาจยังไม่สามารถทำให้ไทยพ้นจากการจัดอันดับที่อยู่ในขั้นที่ 3 ได้ แต่จะมีผลหากมีการดำเนินการปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างจริงจังโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งจะมีผลประเมินในทางบวกอย่างแน่นอนในปีถัดไป ซึ่งมีจุดสำคัญ 2 ประการคือ การปราบปรามการค้ามนุษย์และการให้ความคุ้มครองกับชาวโรฮิงญาผรือผู้ที่ตกอยูในกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งในส่วนแรกไทยได้ดำเนินการได้ดี แต่ในส่วนที่ 2 ควรที่จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ และองค์กรย้ายถิ่นระหว่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง