ไซปรัส-กลุ่มทรอยก้าได้ข้อสรุป กู้วิกฤตการเงิน

ต่างประเทศ
25 มี.ค. 56
03:38
89
Logo Thai PBS
ไซปรัส-กลุ่มทรอยก้าได้ข้อสรุป กู้วิกฤตการเงิน

การหารือระหว่างผู้นำไซปรัสกับกลุ่มทรอยก้าได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้วแม้ จะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดอย่างเป็นทางการแต่มีรายงานว่าหนึ่งในเงื่อนไข ที่ไซปรัสเสนอคือการเก็บภาษีเงินฝากจากบัญชีที่มีเงินมากกว่า 4 ล้านบาทขึ้นไป โดยจะเก็บภาษีสูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งจะสร้างความไม่พอใจให้ประชาชนในไซปรัส

เมื่อวานนี้ (24 มี.ค.2556) ผู้นำไซปรัสหารือกับกลุ่มประเทศยุโรปที่เบลเยี่ยม ที่กรุงนิโคเซียเมืองหลวงของไซปรัส มีประชาชนจำนวนมากออกมาชุมนุมตามท้องถนน เพื่อกดดันรัฐบาลไม่ให้ออกมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า"เวค-อัพ-ไซปรัส" แปลว่า"ตื่นเถิดชาวไซปรัส"  ซึ่งผู้ชุมนุมหลายกลุ่มประท้วงด้วยการนั่งปักหลักกลาง สี่แยก ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต จนตำรวจต้องเข้ามาเจรจาขอให้ผู้ประท้วงลุกออกไป

อีกส่วนหนึ่งของกรุงนิโคเซียมีผู้ประท้วงแสดงความไม่พอใจ หลังจากที่ธนาคารกลางประกาศให้ประชาชนถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มได้วันละ 100 ยูโรหรือประมาณ 4,000 บาท ซึ่งประชาชนมองว่าน้อยเกินไปและเห็นว่าเป็นทางแก้ปัญหาไม่ถูกวิธี

ในกรุงบรัสเซลล์ของเบลเยี่ยม มีชาวไซปรัสประมาณ 50 คน ชุมนุมหน้าอาคารที่ทำการของสภายุโรปพร้อมชูป้ายผ้าที่มีข้อความว่า"ไซปรัสไม่ใช่ประเทศชนชั้นสอง" พร้อมกล่าวว่าเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากยุโรปเป็นเงื่อนไขที่ไม่ยุติธรรม

และเมื่อ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงที่ผ่านมานาย นิคอส อนาตาเซียเดส ประธานาธิบดีของไซปรัส ซึ่งอยู่ที่กรุงบรัสเซลล์ของเบลเยี่ยม หารือกับกลุ่มทรอยก้าซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพยุโรป,ธนาคารกลางยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ถึงเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือมูลค่าหมื่นล้านยูโรหรือประมาณ 400,000 ล้านบาท นายอนาสตาเซียเดสได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ว่า "ความพยายามได้สิ้นสุดลงแล้ว" ตอนนี้สามารถตกลงในเบื้องต้นได้แล้ว

ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของเงื่อนไขอย่างเป็นทางการ แต่สำนักข่าวหลายแห่งได้อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในที่ประชุมว่า ไซปรัสและกลุ่มทรอยก้าตกลงว่าไซปรัสจะเก็บภาษีเงินฝากจากบัญชีที่มีเงินมากกว่า100,000 ยูโรหรือประมาณ 4 ล้านบาทขึ้นไป โดยจะเก็บภาษีสูงถึงร้อยละ 40 

และมีข้อมูลว่าในระหว่างการหารือกับทรอยก้า ผู้นำไซปรัสขู่ว่าจะลาออกหากทรอยก้าไม่ยอมรับเงื่อนไขในการขอเงินของไซปรัส ซึ่งรัฐมนตรีคลังของยูโรโซนจะร่วมกันพิจารณาว่าจะยอมรับแผน

ด้านนักวิเคราะห์หลายคน เปิดเผยว่าหากเกิดกรณีที่เหตุการณ์เลวร้ายที่สุด เช่น ไซปรัสต้องล้มละลายและต้องออกจากยูโรโซน ไม่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซน เพราะขนาดเศรษฐกิจของไซปรัสเป็นร้อยละ 0.2 ของยูโรโซนเท่านั้น แต่ถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของสหภาพยุโรปที่มีสมาชิกของยูโรโซนต้องถอนตัวออกไปเป็นประเทศแรก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง