สำรวจคนไทยก๊งเหล้า เฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคนต่อปี รอบ 10 ปี คนเลิกเหล้าได้ 2.6 ล้านคน

สังคม
26 มี.ค. 56
08:22
266
Logo Thai PBS
สำรวจคนไทยก๊งเหล้า เฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคนต่อปี รอบ 10 ปี คนเลิกเหล้าได้ 2.6 ล้านคน

ห่วงกลุ่มผู้หญิง วัยรุ่นยังดื่มเพิ่ม คนยิ่งจนยิ่งจ่ายค่าเหล้ามาก ภาคเหนือเมามากสุด ขณะที่ 3 จังหวัดใต้ดื่มน้อยสุด

 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่โรงแรม เดอะ สุโกศล ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จัดแถลงเปิดตัวรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย พ.ศ. 2556 และรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัด พ.ศ. 2554

โดย นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) กล่าวว่า สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยปัจจุบันปี 2554 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ยมีการดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็น 7.1 ลิตรของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อคนต่อปี หรือเท่ากับการดื่มสุรากลั่นประมาณ 18 กลม เบียร์ 61 ขวดใหญ่ และ ไวน์ 1 ขวดรวมกัน  ทั้งนี้ ยังพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นกว่า 1.2 แสนร้าน ทำให้การเข้าถึงการบริโภคได้ง่าย ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะซื้อจากร้านขายของชำ   ทั้งนี้ ยังพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นกว่า 1.2 แสนร้าน ทำให้การเข้าถึงการบริโภคได้ง่าย ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะซื้อจากร้านขายของชำ

 
นพ.ทักษพล กล่าวว่า หากพิจารณาสัดส่วนประชากรที่ดื่มแอลกอฮอล์พบว่า เพศชาย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ มีอัตราการดื่มลดลง และสามารถคิดได้ว่าประชากรที่เคยดื่มสุราและเลิกดื่มได้ถึง 2.6 ล้านคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากมาตรการต่างๆ และการรณรงค์ แต่ขณะเดียวกันพบว่า ประชาชนหญิงและกลุ่มวัยรุ่นมีอัตราการดื่มเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 1 ต่อปี และยังพบว่าและกลุ่มครัวเรือนที่มีรายต่ำที่สุด มีค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นที่สุด ในขณะที่ครัวเรือนที่รายได้ดีกว่ามีทิศทางจะจ่ายในสัดส่วนที่ลดลง เมื่อสำรวจผลกระทบทางสังคมยังพบว่า ประชาชนพบเห็นปัญหาจากดื่มเป็นเรื่องปกติ โดย 3 ใน 4 เคยเห็นการทะเลาะกันจากการดื่มในปีที่ผ่านมา และประมาณ 1 ใน 3 เคยพบเห็นการทำร้ายร่างกายในครอบครัวจากการดื่ม
 
“อัตราการดื่มที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำการตลาดอย่างหนักของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เปลี่ยนจากสื่อหลักโดยโฆษณาทางทีวี วิทยุ ไปสู่สื่อในพื้นที่ โฆษณาผ่านสื่อออนไลน์และเครือข่ายสังคม และการโฆษณา ณ จุดขาย และแม้ว่าจำนวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจะลดลง แต่ระดับความรุนแรงของคดีอุบัติเหตุมีเพิ่มขึ้นเมื่อดูจากการเสียชีวิตและการบาดเจ็บสาหัส ในปี 54 ยังพบว่า สุราเป็นสาเหตุการตาย 1 ใน 3 ของคดีอุบัติเหตุ โดยช่วงเทศกาลจะเพิ่มเป็นอันดับ 1 โดยพบว่า 3 ใน 5 หรือ ร้อยละ 70 ของอุบัติเหตุที่เกิดในช่วงเทศกาล มีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่าที่กฎหมายกำหนด” นพ.ทักษพล กล่าว
 
นายสุรศักดิ์ ไชยสงค์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ.2554 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเก็บข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า พื้นที่ที่มีอัตราการดื่มในระดับต่ำที่สุด คือ ภาคใต้และภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี นราธิวาส และยะลา มีอัตราการดื่มต่ำมากที่สุด รองลงมาคือ สตูล กระบี่ และสงขลา

ส่วนพื้นที่ที่มีอัตราการดื่มสูงที่สุดอยู่ในภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อแยกเป็นกลุ่มวัยรุ่น พบว่า ภาคที่วัยรุ่นดื่มมากที่สุดคือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ ยังพบสถานการณ์การดื่มประจำ การดื่มหนักกระตายตัวอยู่ในภาคต่างๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสังคม และอุบัติเหตุ ดังนั้น การจัดการกับปัญหาและลดความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ในระดับจังหวัด จึงควรมีนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สามารถบังคับใช้กฎหมายในระดับพื้นที่อย่างจริงจังต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง