มหิดลจับมือ 2 บริษัทเอกชนจากญี่ปุ่น เปิดบริษัท"ผลิตสัตว์ทดลอง" หนุนนโยบายรัฐ

Logo Thai PBS
มหิดลจับมือ 2 บริษัทเอกชนจากญี่ปุ่น เปิดบริษัท"ผลิตสัตว์ทดลอง" หนุนนโยบายรัฐ

มหิดล เน้นเสริมโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ-เอกชน จัดตั้งบริษัทผลิตสัตว์ทดลองที่มีชื่อว่า “M-CLEA Bioresource Co.,Ltd (MCBC)”

 M-CLEA Bioresource Co.,Ltd (MCBC) เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างศูนย์สัตว์ทดลองมหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท CLEA Japan, Inc. ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายสัตว์ทดลองอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และมีบริษัท Nomura Jimusho, ช่วยสนับสนุนด้านการตลาด บริษัท “MCBC” ผลิตสัตว์ทดลองที่สามารถกำหนดสายพันธุ์ ดัดแปลงสายพันธุ์ของสัตว์ทดลองให้มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งนักวิจัยไทยและองค์กรด้านสาธารณสุขจะได้รับประโยชน์ที่จากการจัดตั้ง MCBC ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก นักวิจัยจะได้ใช้สายพันธุ์สัตว์ทดลองที่ใหม่และหลากหลาย โดยบริษัท CLEA Japan, Inc. จะนำสัตว์ทดลองประเภทหนู ที่มีการดัดแปลงสายพันธ์ให้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและเป็นเบาหวาน และเชื่อว่าหนู models เหล่านี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ไทยทำการศึกษาทดลองได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ในเร็ว ๆ นี้ บริษัท CLEA Japan, Inc. กำลังจะนำตัวแบบเพาะเชื้อสำหรับการค้นพบยาและพิษวิทยา และสัตว์สำหรับการทดลองต่าง ๆ  มาใช้เพื่อขยายการผลิตในประเทศไทย ทั้งนี้ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว ช่วยทำให้ราคาสัตว์ทดลองถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถและความยืดหยุ่นในการบริหารและการทำการตลาดในภาคเอกชนและต่างประเทศ เพิ่มสายพันธุ์สัตว์ทดลองเพื่อรองรับงานวิจัยที่หลากหลาย ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

การจัดตั้งบริษัท “MCBC” นี้ นับเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่การเปิดโอกาสให้มีความร่วมในการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP)  เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานและบริการ Public Private Partnership : PPP คือ ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับเอกชนผู้ร่วมลงทุนหนึ่งราย หรือมากกว่า ในการที่จะให้เอกชนนั้นๆ ส่งมอบบริการในลักษณะต่างตอบแทนให้แก่รัฐบาล โดยเอกชนจะได้รับผลกำไรจากการให้บริการ และรัฐบาลจะได้บรรลุเป้าประสงค์ของการส่งมอบบริการที่ได้ตั้งไว้
บริษัท “MCBC” มุ่งหมายที่จะเป็น Excellent Center สร้างความเป็นเลิศด้านการผลิต การบริการ การตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลอง ยกระดับงานวิจัยสัตว์ทดลองของประเทศให้มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนาศูนย์ผลิตสัตว์ทดลองของประเทศไทยให้มีคุณภาพสูงขึ้น เข้าสู่มาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนางานทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุข และการเกษตร ที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคอีกด้วย
 
 
 
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง