ทนายกัมพูชาย้ำ"ไทย-เขมร"เห็นต่างปมเขตแดน ขอศาลพิจารณาตีความให้ชัดเจน

ต่างประเทศ
15 เม.ย. 56
13:34
71
Logo Thai PBS
ทนายกัมพูชาย้ำ"ไทย-เขมร"เห็นต่างปมเขตแดน ขอศาลพิจารณาตีความให้ชัดเจน

วันที่ 15 เม.ย. เวลาประมาณ 17.00 น. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เนเธอร์แลนด์ นายร็อดแมน บุนดี ทนายความอเมริกัน ฝ่ายกัมพูชา กล่าวถ้อยแถลงกรณีปราสาทพระวิหาร ต่อคณะผู้พิพากษาว่า ที่กัมพูชายื่นตีความเขตแดนในครั้งนี้ไม่ใช่การเปิดคดีใหม่ แต่เป็นเรื่องของการตีความด้วยหลักการที่ต้องตระหนัก ก็คือ ข้อเท็จจริงหลังคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหารในปี ค.ศ.1962 มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจริงระหว่างคู่ความทั้ง 2 ในเรื่องของการตีความที่เกิดขึ้น

รวมถึงทางการไทยได้เพิกเฉยต่อเอกสารจำนวนมากที่แสดงให้เห็นโดยสิ้นเชิงในเรื่องเขตแดนของเอกสาร และกรอบทางกฎหมายต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงจากการตีความคำพิพากษาของศาลฯในปี ค.ศ.1962 ที่ไทยอ้างว่า ศาลไม่มีอำนาจโดยอ้างว่า ทั้ง 2 ประเทศไม่มีข้อพิพาทในเรื่องเขตแดน ซึ่งยังระบุว่า ทางการกัมพูชา ซึ่งคำกล่าวดังกล่าวนั้นผิด ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีความเห็นต่างในเรื่องความหมายและการถอนกำลังออกมาซึ่งไทยมองเห็นต่างจากกัมพูชา

รวมถึงภายหลังศาลฯมีคำพิพากษาในปี ค.ศ.1962 คณะรัฐมนตรีของไทยได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเดินทางไปยังเจ้าหน้าที่ในการกำหนดขอบเขตบริเวณโดยรอบตัวปราสาท ซึ่งได้ระบุว่า การกำหนดขอบเขตสามารถดำเนินการใน 2 วิธี คือ 1 การจัดทำเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 50,000 และรับเอาวิธีที่ 2 คือการกำหนดพื้นที่ซึ่งใกล้เคียงตัวปราสาทซึ่งขัดต่อแผนที่ตามภาคผนวก 1 (แผนที่มาตรา 1 :200,000) รวมถึงการที่ทางการไทยได้ออกเอกสารเป็นจำนวนมากและได้ให้ข้อมูลกับศาลฯ ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเดียว และไม่อ้างถึงมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และเมื่อกัมพูชายื่นเรื่องตีความเข้ามา ไทยจึงส่งเอกสารเข้ามาภายหลังซึ่งเเสดงให้เห็นว่าไทยลังเลในเรื่องของเขตแดน

นอกจากนี้ นายร็อดแมน ยังระบุว่า ผู้เชี่ยวชาญไทยได้เคยชี้แจงว่า 1.การถอนกำลังมีการตีความที่แตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นต้องให้ศาลตัดสิน 2.และการตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ทางการกัมพูชาไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำไปสู่การล้อมรั้วลวดหนามบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร และการกำหนดวิธีการในการตอบโต้การรุกล้ำพื้นที่ซึ่งมีเจตนาในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของตนเอง ซึ่งกระทำโดยรัฐบาลไทยเพียงฝ่ายเดียว โดยทางการกัมพูชาได้โต้แย้งวิธีการดังกล่าว

ต่อมาภายหลังการออกมติคณะรัฐมตรีของฝ่ายไทย 1 เดือน  สมเด็จนโรดมสีหนุ ได้พูดถึงพื้นที่ซึ่งได้มีการล้อมรั้วลวดหนาม และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหากดไทยของไทยยังคงสั่งให้ยิงบุคคลที่รุกล้ำเข้าในพื้นที่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าไทยและกัมพูชามองถึงความแตกต่างในเรื่องเขตแดนเช่นไร และตัวแทนองค์การสหประชาชติในขณะนั้นก็ทำรายงานถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นว่า กัมพูชาไม่เห็นด้วยต่อกรณีดังกล่าว ประเทศไทยเป็นผู้แพ้ที่ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ซึ่งทำให้มีรั้วลวดหนามมากั้นไว้ในพื้นที่ดังกล่าว 

และต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสก็รับทราบการปฏิเสธกรณีของไทยจากรัฐบาลกัมพูชา เนื่องจากไทยยังยึดครองพื้นที่ดังกล่าวอยู่ และในปี ค.ศ.1963 สมเด็จนโรดมสีหนุ ก็ได้อ้างถึงอีกครั้งว่า ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของไทย ในการล้อมรั้วลวดหนามของไทยฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงฝ่ายกัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นการรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา และขัดต่อคำพิพากษาของศาลฯ

ทางการไทยยัง อ้างว่า ระยะเวลาที่เนิ่นนาน กัมพูชาไม่มีท่าทีใดต่อการดำเนินการของฝ่ายไทยและสมเด็จสีหนุมีท่าทีพอใจต่อข้อปฏิบัติของไทย ซึ่งเป็นการตีความที่ผิดของไทยและกัมพูชาได้ปฏิเสธที่จะยอมรับเขตแดนดังกล่าว โดยได้ส่งจดหมายโต้แย้งไปยังสหประชาชาติในปี ค.ศ.1966 โดยสมัยสมเด็จนโรดมสีหนุ

ต่อมาในปี ค.ศ.1967 ผู้นำของกัมพูชาก็แถลงข่าวประท้วงการจัดทำรั้วลวดหนามของไทยที่รุกล้ำเข้ามาในเขตแดน ซึ่งสมเด็จนโรดมสีหนุ ระบุว่า ตั้งแต่ปี 1962 ทางการไทยไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งของศาลฯ ด้วยการไม่ยอมคืนพื้นที่ แต่กลับล้อมรั้วลวดหนามไว้ ซึ่งมีเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า ทางการไทยก็ยังไม่แน่ใจในการตีความเขตแดนในพื้นที่ดังกล่าว

นายร็อดแมนยังกล่าวว่า ไทยอ้างว่า กัมพูชาไม่มีเอกสารร้องเรียนที่ระบุว่ากัมพูชาไม่มีการโต้แย้งไทยซึ่งแปลกมากซึ่งข้อเท็จจริงออกมาตรงกันข้าม และต่อมาในปี ค.ศ.1970 เกิดปัญหาภายในกัมพูชา และในปี ค.ศ.1991 มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีส ทำให้ปราสาทเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ และกัมพูชาเป็นผู้กู้ระเบิดในพื้นที่เพื่อสราร้งความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว และต่อมาได้มีชาวกัมพูชาได้ไปตั้งที่อยู่โดยรอบปราสาทพระวิหารในปี ค.ศ.1998 และมีการตั้งตลาดตั้งวัดซึ่งไทยมิได้คัดค้านถึงเรื่องดังกล่าว รวมถึงการตั้งในภูมะเขือซึ่งเป็นพื้นที่ของกัมพูชาตามภาคผนวก 1 (แผนที่ 1:200,000)

ต่อมาได้ทำเอ็มโอยู ปี ค.ศ.2000 นำไปสู่การจัดทำเขตแดนและการจัดทำหลักเขตแดน ซึ่งในขณะนั้นชัดเจนว่าศาลฯไม่ได้ถูกร้องให้จัดทำหลักเขตแดน ซึ่งศาลฯระบุว่า แผนที่ 1 :200,0000 ตามที่ศาลวินิจฉัยเรื่องเขตแดนนั้นไทยยอมรับแล้วจากคำพิพากษาในคดีดังกล่าว และเมื่อชุมชนชาวกัมพูชา เริ่มที่จะขยายตัวมากขึ้นจนมีประชากรว่า 700 คน ซึ่งโดยไทยไม่ได้โต้แย่งเรื่องเขตแดนใด ๆ เลย หากแต่เป็นการโต้แย้งเรื่องของการก่อมลพิษเท่านั้น

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นความเห็นต่างในการตีความในเรื่องขอบเขตของทั้ง 2 ประเทศที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าเหตุใดกัมพูชาจึงยื่นให้ศาลฯพิจารณาตีความในเรื่องของเขตแดน ซึ่งนายร๊อดเจอร์ย้ำว่า ไม่ได้ตีความในสิ่งนอกเหนือจากการที่ศาลได้พิพากษาไปแล้ว และจากคำพิพากษาในปี ค.ศ.1962 แสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับถึงการแบ่งเขตแดนไปแล้ว ตามแผนที่ 1:200,000 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง