ติดตามตัวแทนไทยสู้คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลก

สังคม
17 เม.ย. 56
14:57
143
Logo Thai PBS
ติดตามตัวแทนไทยสู้คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลก

การแถลงด้วยวาจาของทีมทนายฝ่ายไทย ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ในรอบแรกได้พักชั่วคราว เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.ที่ผ่านมา และจะขึ้นชีแจงอีกครั้งในรอบที่ 2 เวลาประมาณ 20.00 น.ตามเวลาประเทศไทย

ในช่วงแรกที่เริ่มต้นเมื่อเวลา 15.00 น.นั้น ทีมทนายความได้พยายามโน้มน้าวให้ศาลโลกเห็นว่าแผนที่ แอนเน็กซ์ วัน อัตราส่วน 1:200,000 ที่ฝ่ายกัมพูชาใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการต่อสู้คดี ไม่มีความน่าเชื่อถือ

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนอเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะทีมทนายความสู้คดีปราสาทพระวิหาร เป็นคนแรกที่แถลงด้วยว่าจาต่อศาลโลก สรุป คำขอให้ตีความทบทวนใหม่ รับฟังไม่ได้ และศาลก็ไม่ยอมรับตั้งแต่ปี 2505 คำร้องของกัมพูชาเป็นคำร้องโดยมิชอบ และข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ไทยพยายามใช้การเจรจาตามคณะกรรมการชายแดน(เจบีซี) รวมถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของกัมพูชา เห็นได้ชัดว่า พยายามอ้างถึงดินแดนเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก และเหตุการณ์การปะทะตามแนวชายแดนถูกยั่วยุ โดยกัมพูชา 

 
<"">
 
<"">
นอกจากนี้  MOU 2543 เป็นเอกสารสำคัญที่กัมพูชายอมรับว่าพื้นที่พิพาทไม่ได้อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา เรื่องเขตแดน ซึ่งต้องใช้กระบวนการทางสนธิสัญญา
  
<"">
จากนั้น โดนัลด์ เอ็ม. แมคเรย์ ได้ระบุว่า คำพิพากษา ของศาล เห็นได้ชัดเจนว่าปฎิเสธชี้ขาดเรื่องเขตแดน หรือ เส้นบนแผนที่ แต่คำร้องขอของกัมพูชา ต่อศาลโลก ครั้งนี้ อ้างถึงเส้นในแผนที่ 1:200,000  เป็นคำร้องขอที่แอบแฝงข้อเท็จจริง ไม่มีความชัดเจน และการแก้ปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน มี MOU 2543 เป็นตัวกำหนดอยู่แล้ว และข้อเรียกร้องของกัมพูชา เหมือนเป็นการพบข้อพิพาทใหม่
 
       
<"">
ขณะที่อลินา มิรอง ระบุว่า  การที่กัมพูชาใช้แผนที่ 1:200,000 ซึ่งศาลโลกไม่ได้มีหลักฐานรับรอง และไม่มีความชัดเจน รวมถึงในคำพิพากษา ก็ไม่ได้กล่าวถึงแผนที่ นอกจากนี้หน่วยวิจัยเขตแดนระหว่างประเทศ บอกว่า ไม่สามารถกำหนดเขตแดนตามแผนที่ ที่กัมพูชากล่าวอ้างได้ และการที่กัมพูชากำลังขอให้ศาลวินิจฉัยเส้นเขตแดน ทั้งที่ไม่ได้กำหนดไว้ กัมพูชา กำลังมีเจตนาขยายอาณาเขตไปในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
<"">
 
<"">
ด้านศาสตราจารย์ อแลง เเปลเล่ต์ กล่าวว่า กัมพูชา ไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ ภาระการพิสูจน์แผนที่ต้องเกิดขึ้นหลังจากคำพิพากษา การตีความคำพิพากษา ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะเกินกว่าคำพิพากษา ปี 2505 และหลังจากมีคำพิพากษา เกิดความตึงเครียดทางด้านการทูตจริง แต่คำพิพากษาก็ไม่ได้พูดถึงการกำหนดเขตแดน และการที่มีป้ายที่บ่งชี้ขอบเขตของปราสาทพระวิหาร ถือเป็นการดำเนินการตามคำพิพากษา ว่าเป็นขอบเขตปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้หลังจากการล้อมรั้วรอบปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 สมเด็จพระนโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชา เคยเสด็จฯ ขึ้นไปบนเขาพระวิหารโดยไม่ได้โต้แย้ง และยังแสดงความยินดีต่อการเสด็จขึ้นไปบนเขาพระวิหาร ทั้งยังประกาศว่า ไทยได้ดำเนินตามคำพิพากษาศาลโลกแล้ว
 
<"">
รวมถึงศาสตราจารย์ เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ที่ระบุว่า ขอบเขตอำนาจของศาลในปี 2505 ศาลกำหนดไว้แล้ว ว่า จะไม่ตัดสินเรื่องเขตแดน จึงมีคำถามว่า กัมพูชาต้องการอะไร และกัมพูชา ต้องการเบี่ยงเบน เพื่อให้ใช้แผนที่ 1 : 200,000 แต่คำร้องขอ ของกัมพูชาก็ไม่ได้มีสาระที่จะพูดเรื่องนี้อีก และศาลฯมีหน้าที่ต้องคลี่คลายข้อโต้แย้ง มิใช้ทำให้เกิดข้อโต้แย้งมากขึ้น


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง