“สุภิญญา” ค้านบอร์ดกระจายเสียงฯ ล็อกสเปคเอื้อกลาโหม-สตช. จี้ทบทวนอีก 6 ช่องที่เหลือ

สังคม
18 เม.ย. 56
07:30
89
Logo Thai PBS
“สุภิญญา” ค้านบอร์ดกระจายเสียงฯ ล็อกสเปคเอื้อกลาโหม-สตช. จี้ทบทวนอีก  6 ช่องที่เหลือ

เมื่อวันที่ 18 เมษายน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แถลงถึงกรณีที่มติที่ประชุมบอร์ดกระจายเสียงฯ มีมติ 3:1:1 อนุมัติช่องรายการทีวีดิจิตอล กลุ่ม”ให้บริการสาธารณะ เพื่อความมั่นคงของรัฐ” โดยสามารถหาโฆษณาได้ โดยเป็นการตีความให้กอทัพ กับตำรวจ สามารถมีช่องทีวีของตัวเองได้

 ทั้งนี้ เห็นว่า มติที่เกิดขึ้นเป็นการให้สิทธิ์หน่วยงานรัฐ โดยไม่ต้องประมูล ซึ่งจะส่งผลให้กองทัพ  คือ กระทรวงกลาโหม  และสำนักตำรวจแห่งชาติ  มีสิทธิ์ขอรับใบอนุญาตได้ทันที  และการออกกติกาเช่นนี้ โดยไม่คำนึงถึงผลอนุญาตประกอบกิจการ และสัดส่วนผังรายการ และการหารายได้  จึงทำให้มีข้อกังขามากขึ้นต่อการตัดสินใจของบอร์ดกระจายเสียง ที่เกิดการล็อกเสปกดังกล่าว

 
นางสาวสุภิญญา เห็นว่า การตีกรอบเมื่อวาน เป็นการปิดกั้นสิทธิของหน่วยงานรัฐอื่น ขัดเจตนารมย์ของกฎหมาย โดยเปิดโอกาสให้หารายได้ได้ โดยยังไม่มีกฎเกณฑ์กลาง หรือ บิวตี้คอนเทส ที่บอร์ดควรเร่งกำหนดเพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น  ขอบเขตการโฆษณา, หารายได้อย่างพอเพียง, ความพร้อมทางเทคโน.โลยี สตูดิโอการถ่ายทำ และความพร้อมด้านต่างๆ ที่จะต้องกำหนดไว้ในบิวตี้คอนเทส ซึ่งที่อเมริกา จะต้องมีการออกข้อสอบ  ทดสอบความพร้อมต่างๆ รวมทั้งที่มาของเงินลงทุน และผังรายการที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องที่กรรมการฝั่งกระจายเสียงฯ ควรต้องนำบทเรียนที่ไปศึกษาดูงานต่างประเทศมาปรับใช้
 
“ขณะนี้เป็นโลกของยุคดิจิตอล ถ้าบอร์ดกระจายเสียงฯ ทำแบบนี้ ซึ่งเสมือนเป็นการแจกคลื่นความถี่ให้กับ 4 เหล่าทัพ จะเป็นการสวนกระแสโลกมาก เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกทำกัน แต่สิ่งที่น่าจะทำได้ คือ หากหน่วยงานรัฐสนใจทำทีวีดิจิตอล ก็สามารถคิดคอนเท้นต์ หรือ เนื้อหารายการ และรวมตัวผลิตเนื้อหาร่วมกันได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของคลื่น โดยขอเงินสนับสนุนจากกองทุน USO”
 
นางสาวสุภิญญากล่าวว่า ขณะนี้ บอร์ดกระจายเสียงฯ เดินทางมาถึงครึ่งทางแล้ว  โดย 4 ช่องแรก ได้อนุมัติให้ผู้ประกอบการฟรีทีวี คือ ช่อง 5 / ช่อง 11 และไทยพีบีเอส ได้ 2 ช่อง  และเมื่อวานนี้ อนุมัติอีก 2 ช่อง เป็นของกระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ส่วนอีก 6 ช่องที่เหลือ ยังต้องจับตาว่าจะเป็นหน่วยงานใดครอบครอง   เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สังคมต้องจับตา  
 
ในฐานะเป็นเสียงส่วนน้อย ก็เตรียมเสนอวาระให้บอร์ดฯ ทบทวนในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณาเกณฑ์ใหม่ทั้ง 12 ช่อง และวันที่ 24 เมษายนนี้ กสทช.จะร่วมกับจุฬา จัดสัมมนา “ทีวีดิจิตอล จุดเปลี่ยนประเทศไทย ตอนทีวีสาธารณะ“  จะเป็นเวทีใหญ่ที่รวมนักวิชาการ เพื่อนำข้อเสนอแนะ และความเห็นต่างๆ ที่สะท้อนจากเวทีวันนั้น  เสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด เพื่อให้ทบทวน และวางกติกาทีวีสาธารณะ 
 
“เรื่องนี้คิดว่า ในทางที่ถูกต้อง ควรต้องผ่านกระบวนการรับฟังความเห็น และเสนอให้บอร์ดกสทช. 11 คน พิจารณา มากกว่าบอร์ดฝั่งกระจายเสียง  5 คน  ซึ่งกสทช.ควรเชิญหน่วยงานรัฐทั้งหลายมาหารือ และขอให้เลื่อนการพิจารณาให้ใบอนุญาตออกไปก่อน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง