เรียนรู้ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 กับสารคดีไม้หมอนสุดท้ายบนเส้นทางสายมรณะ

Logo Thai PBS
เรียนรู้ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 กับสารคดีไม้หมอนสุดท้ายบนเส้นทางสายมรณะ

ก่อนไปชมละครบุญผ่อง ซึ่งออกอากาศในสัปดาห์หน้า วันนี้ (2 พ.ค.) ร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 กับสารคดีไม้หมอนสุดท้ายบนเส้นทางสายมรณะ

เชลยศึกจากอังกฤษ ออสเตรเลีย เนเธอแลนด์ ฮอลันดา เป็นดอกเตอร์ เป็นหมอ วิศวกร ก็จะมีความอดทนในการสร้าง โดยเฉพาะอากาศกลางวันจะร้อน กลางคืนจะหนาว ญี่ปุ่นจะเร่งสร้างทำให้เกิดการเกณฑ์แรงงานชาวเอเชียมาจำนวนมาก

เมื่อสงครามมหาเอเชียเริ่มขึ้น ไทยไม่อาจพ้นชะตากรรมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสงครามได้ และถูกกองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นทางผ่านเพื่อเคลื่อนทัพไปสู่พม่า และอินเดีย จังหวัดกาญจนบุรีถูกเลือกเป็นชัยภูมิสำคัญสร้างเส้นทางรถไฟ การก่อสร้างถูกกำหนดโดยระยะเวลาอันสั้น เร่งวันเร่งคืนก่อสร้าง จนเชลยศึกอ่อนล้า เจ็บป่วย ล้มตายเป็นใบไม้ร่วง ความทุกข์ใจที่เห็นความตายตรงหน้า ทำให้บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ ที่หน้าฉากค้าขายกับญี่ปุ่น แต่อีกด้านก็ลักลอบช่วยเหลือเชลย ด้วยการลักลอบนำยารักษาโรค และอาหารไปให้ สงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น และชีวิตผู้คนที่ต้องสังเวยเส้นทางสายมรณะกว่า 90,000 คน ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์นำมาถ่ายทอดผ่านสารคดี "ไม้หมอนสุดท้าย บนเส้นทางสายมรณะ" ย้อนความทรงจำถึงวีรบุรุษและผลของสงครามที่มีแต่ความสูญเสีย

"หนึ่งไม้หมอน คือ หนึ่งชีวิตของเชลย" คือคำเปรียบเปรยถึงความสูญเสียครั้งนั้น ความเลวร้ายจากสงครามคือเรื่องที่ทุกคนต้องเรียนรู้ แม้ยากที่จะทรงจำ แต่เรื่องราวของบุญผ่อง ทำให้ได้เห็นว่า ท่ามกลางสงครามยังมีมิตรภาพ ติดตามละครบุญผ่องได้ทุกวันพุธ และพฤหัสบดี เริ่มออกอากาศตอนแรกวันพุธที่ 8 พฤษภาคม และรับชมสารคดีไม้หมอนสุดท้ายบนเส้นทางสายมรณะในวันนี้ (2 พ.ย.) 20.20 น.หลังข่าวค่ำไทยพีบีเอส


ข่าวที่เกี่ยวข้อง