จับตาโอกาสของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ไทยในตลาดอาเซียน…รุกรับอย่างไรดี?

สิ่งแวดล้อม
15 พ.ค. 56
10:49
471
Logo Thai PBS
 จับตาโอกาสของธุรกิจเมล็ดพันธุ์ไทยในตลาดอาเซียน…รุกรับอย่างไรดี?

อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์พืชของไทยยังมีช่องว่างให้เติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพในการก้าวไปสู่การเป็น “ศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์” (Seed hub center)

 ทั้งในแง่การเป็นฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์เขตร้อนของอาเซียน หรือแม้แต่การรับจ้างผลิตเมล็ดพันธุ์ให้กับต่างชาติ แต่สิ่งที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยต้องเร่งปรับตัว คือ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชให้มีคุณภาพสูงและทนทานต่อสภาพอากาศต่างๆ ได้ดีขึ้น เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียนและตลาดโลก

 
“อาเซียน” คือ ตลาดส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกราว 70% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นแหล่งผลิต "เมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อน" ที่มีศักยภาพสูงของภูมิภาคอาเซียน ทั้งจากความได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งของประเทศ ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพหลากหลายชนิด ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและความพร้อมในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิต รวมไปถึงทักษะความชำนาญด้านการผลิตของเกษตรกรไทย 
 
ในปี 2012 ไทยส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชไปยังตลาดอาเซียนปริมาณรวม 12,937 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของปริมาณการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชทั้งหมดในปีที่ผ่านมา โดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเมล็ดพันธุ์ผักและเมล็ดพันธุ์พืชไร่ อาทิ ข้าวโพด มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา โดยมีเวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา เป็นตลาดส่งออกหลัก
 
ขณะที่ความต้องการเมล็ดพันธุ์ในกลุ่มอาเซียนยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง  สะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์ของไทยไปยังตลาดอาเซียนที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจาก 1,340 ล้านบาทในปี 2008 มาเป็น 1,756 ล้านบาทในปีที่แล้ว หรือมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 7% 
 
โดยพบว่าไทยมีส่วนแบ่งตลาดเมล็ดพันธุ์ในอาเซียนมากเป็นอันดับ 8 ของโลก รองจากสหรัฐฯ อินเดีย บราซิล จีน อาร์เจนตินา แคนาดา และอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากความสามารถของไทยในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อนที่มีคุณภาพดีและได้รับมาตรฐานสากล รวมทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดความสม่ำเสมอของการงอกของเมล็ดพันธุ์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนา
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง