กมธ.ยุโรปเปิดโฉมใหม่เว็บไซต์ Export Helpdesk บริการส่งออกไป "อียู"

Logo Thai PBS
กมธ.ยุโรปเปิดโฉมใหม่เว็บไซต์ Export Helpdesk บริการส่งออกไป "อียู"

คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดตัวโฉมใหม่ของเว็บไซต์ Export Helpdesk ซึ่งเป็นบริการออนไลน์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยผู้ส่งออกในประเทศที่กำลังพัฒนาเกี่ยวกับการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป

 แค่กดปุ่มคลิก ผู้ส่งออกจะสามารถค้นหาข้อมูลกฎระเบียบการนำเข้า ภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง อัตราภาษีศุลกากร สิทธิพิเศษทางการค้า กฏว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และ สถิติการค้าที่สอดคล้องกับสินค้าส่งออกของตน

 
ทำไมต้องส่งออกไปที่สหภาพยุโรป?
•สหภาพยุโรปเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่ มีประชากรกว่า 500 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 7 ของประชากรโลก
•ผลิตภัณฑ์มวลรวมของสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 25.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก
•สหภาพยุโรปใช้กฎระเบียบทางการค้าหนึ่งเดียว ครอบคลุมทั้ง 27 ประเทศสมาชิก
•สหภาพยุโรปเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีภาษีการนำเข้าต่ำที่สุดในโลก
•ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงตลาดสหภาพยุโรปด้วยภาษีนำเข้าที่ต่ำหรือเป็นศูนย์ 
•นอกจากนี้อุปสรรคทางการค้าก็ได้มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
•หากไม่นับการนำเข้าเชื้อเพลิง สหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าจากจากประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Counties) มากกว่าการนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และจีน รวมกัน
•ร้อยละ 70 ของการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมของสหภาพยุโรปมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา
 
 
Export Helpdesk จะช่วยธุรกิจอย่างไร?
•อย่างไร? เว็บไซต์ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับระเบียบการนำเข้าสินค้าของคุณ เพื่อที่จะเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป
•เท่าไหร่? เว็บไซต์สามารถให้ข้อมูลอัตราภาษีนำเข้าของสหภาพยุโรป และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าของคุณ
•กับใคร? เว็บไซต์สามารถให้ข้อมูลคู่ค้าในสหภาพยุโรป
•คู่แข่งเป็นใคร? เว็บไซต์สามารถช่วยคุณทำการวิจัยตลาดเบื้องต้น โดยให้ข้อมูลสถิติการนำเข้าของสหภาพยุโรปเป็นรายผลิตภัณฑ์
•สิทธิพิเศษคืออะไร? เว็บไซต์สามารถให้ข้อมูลสิทธิพิเศษทางการค้ารวมถึงข้อมูลสำหรับรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับสินค้าของคุณ
 
รู้ไหมว่า...
•ข้อมูลอะไรบ้างที่ควรปรากฏอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป?
•ทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ของคุณได้รับการรับรองเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
•เคมีภัณฑ์ใดที่ห้ามใช้ในสหภาพยุโรป?
•อัตราภาษีนำเข้าของสหภาพยุโรป เป็นเท่าใด?
•คุณสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรได้หรือไม่?
•คุณจะสามารถรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับสินค้าของคุณ ได้อย่างไร?
•คูณจะตรวจสอบการใช้โควตาในการนำเข้าได้จากที่ไหน?
•ทั้งหมดนี้ คุณสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซท์ Export Helpdesk! ที่ www.exporthelp.europa.eu
 
ประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่สามในกลุ่มประเทศอาเซียนของสหภาพยุโรป ทั้งนี้สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่สามของประเทศไทย การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยในปี พ.ศ. 2555 มีปริมาณถึงกว่า สามหมื่นสองพันล้านยูโร หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่สามของประเทศไทย รองจากอาเซียน และจีน และเป็นแหล่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสำคัญอันดับที่สองของไทย รองจากญี่ปุ่น ความแข็งแกร่งของภาคส่งออกของประเทศไทยได้นำไปสู่การได้เปรียบดุลการค้ากับสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง ในช่วงพ.ศ. 2551-2555 ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสหภาพยุโรปโดยเฉลี่ยประมาณห้าพันเก้าร้อยล้านยูโรต่อปี หรือประมาณ สองแสนสามหมื่นหกพันล้านบาทต่อปี
 
เว็บไซต์ Export Helpdesk โฉมใหม่นี้ ได้รับการปรับปรุงทั้งในแง่การใช้งานและเนื้อหา ผู้ส่งออกสามารถสืบค้นข้อมูลในการส่งออกได้ง่ายจากเนื้อหาที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยฟังก์ชั่นใหม่ที่สำคัญมีดังนี้:
•หน้า My Export ที่ให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับการส่งออกสินค้าของคุณเพียงแค่คลิกเดียว
•ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการค้าของสหภาพยุโรป
•เทคนิคง่ายๆที่จะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับกฏหมายของสหภาพยุโรป
•คำอธิบายที่ละเอียดเกี่ยวกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
•วิดีโอความยาว 3 นาที สาธิตขั้นตอนการใช้ Export Helpdesk
 
ทั้งนี้ เว็บไซต์ Export Helpdesk ซึ่งเปิดให้มีการให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่แสดงถึงความตั้งใจของสหภาพยุโรปเพื่อที่จะให้ความสะดวกทางการค้าแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา เว็บไซต์ Export Helpdesk มีการให้บริการทั้งในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประเทศผู้ส่งออกที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างยิ่ง  นอกจากนี้เว็บไซต์ยังมีการอัพเดทข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงาน Export Helpdesk ยังมีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพของผู้ส่งออกสำหรับการใช้งานของเว็บไซต์ด้วย "เราไม่ได้ให้บริการแค่ข้อมูล แต่เราอธิบาย” เป็นคติประจำใจของ Export Helpdesk
 
 
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง