แพทย์ชนบท 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แถลงประณาม ตัวแทนรัฐบิดเบือนข้อเจรจา

สังคม
31 พ.ค. 56
12:18
94
Logo Thai PBS
แพทย์ชนบท 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แถลงประณาม ตัวแทนรัฐบิดเบือนข้อเจรจา

สืบเนื่องจากการที่ทางรัฐบาลโดยตัวแทนสายตรงจากนายกรัฐมนตรี นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ ได้ขอเจรจากับแพทย์ชนบทและเครือข่ายสุขภาพที่ออกมาไล่ รมต.ประดิษฐและไม่เอา p4p จนบรรลุข้อตกลงในการจัดการเจรจาในวันที่ 4 และ 6 มิถุนายน

 โดยเป็นการเจรจาตามข้อเรียกร้องของแพทย์ชนบท ทันตภูธร เครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายกลุ่มคนรักหลักประกัน สหภาพองค์การเภสัชกรรม เครือข่ายผู้ป่วยและองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาและพิจารณาข้อเรียกร้องทีละประเด็น 

 
แพทย์ชนบท 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง  ขอประนามการบิดเบือนสาระการหารือที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่ง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่ได้ร่วมประชุมด้วย ว่าเป็นการจัด workshop P4P ในวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งเป็นการเจตนาบิดเบือนที่น่าละอายยิ่ง และเป็นการแสดงถึงธาตุแท้แบบนักธุรกิจสามานย์ที่มุ่งบรรลุผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่สนใจวิธีการ แม้การบิดเบือนผลการประชุมที่ตนไม่ได้เข้าร่วมก็ทำได้ นี่ไม่ใช่ workshop P4P เพราะ P4P คือยาพิษ จะไม่มีการเจรจาลงรายละเอียดเรื่อง P4P  แต่อย่างใด ไม่รับทั้งหมด ไม่มีการโอนอ่อน
ชมรมแพทย์ชนบท 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ขอยืนยันข้อเรียกร้องที่ลดหย่อนไม่ได้เลยของแพทย์ชนบทและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน อ
(อ่านรายละเอียดข้อเจรจา ในไฟล์ Word)
 
ในวันที่ 31 พฤษภาคม นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาชุมพวง โคราช 1ใน2 แกนนำแพทย์ชนบทที่เข้าไปคุยกับเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เมื่อวานนี้ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีที่ รัฐมนตรีสาธารณสุข นพ.ประดิษฐแอบอ้างว่าเวทีวันที่ 6 มิถุนายนคือ workshop P4P  ว่า "การเจรจาที่จะมีขึ้นในวันที่6 มิย. นี้นั้น เนื่องจากรมต. ประดิษฐไม่ได้อยู่ในโต๊ะประชุมวานนี้ มีการให้ข่าวที่ไม่ถูกต้องเจตนาบิดเบือนความจริง เวทีวันที่ 6 นั้นไม่ใช่ workshop P4P แต่จะเป็นการหารือเจรจาจะต้องพิจารณาตั้งแต่เรื่องของหลักการสำคัญของระบบค่าตอบแทนจูงใจในชนบท แล้วค่อยมาดูในหลักเกณฑ์ จะไม่มีการเจรจาเพื่อจะยอมรับนโยบาย P4P"
 
" รวมทั้งยังมีประเด็นการเจรจาที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องจากเครือข่ายความเป็นธรรมทางสุขภาพ ที่ชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายความเป็นธรรมทางสุขภาพระวังมากคือการถอยหลังการจัดสรรงบประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขจะรับจากสปสช. แล้วมาจัดสรรใหม่ผ่านกลไกให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขให้มีอำนาจจัดการนั้นมีความน่าเป็นห่วงยิ่ง  ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาแล้วทำให้เราไม่ไว้ใจในระบบธรรรมาภิบาลของ สธ. ว่าจะยึดหลักการเสมอภาค, เป็นธรรม, ทั่วถึง สังคมตรวจสอบได้"
 
" รวมทั้งบทบาทขององค์การเภสัชกรรมที่จะต้องเป็นองค์กรหลักในการสร้างความเข้มแข็งของระบบยาและเวชภัณฑ์ของประเทศทั้งยามปกติและยามฉุกเฉินก็มีปัญหา บอร์ดองคืการเภสัชกรรมชุดนี้ที่นำโดย นพ.พิพํฒน์ ยิ่งเสรี ต้องถูกปลดเพื่อรักษาองค์การเภสัชกรรมไว้  ก่อนจะถึงวันที่ 6 ตนอยากให้ รมต.ได้ไปทบทวนบทบาทการบริหารงานว่าเหตุไฉนจึงทำให้เหตุการณ์ต่างๆ บานปลายจนไม่สามารถแก้ไขได้ ภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งเครือข่ายผู้ป่วยไม่ไว้วางใจ จนรัฐบาลต้องลงมาช่วยดูแลเป็นคนกลาง หากมีสำนึกก็ควรลาออกไปก่อนด้วยตนเอง ซึ่งก็จะสร้างบรรยากาศในการเจรจาได้เป็นอย่างดี ส่วนตัวคาดหวังกับการเจรจาแม้นจะไม่ร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม"
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง