รฟท.ยันบริหาร"แอร์พอร์ตลิงค์" แบบ "บริษัทจำกัด" เพื่อเพิ่มความคล่อง

เศรษฐกิจ
2 มิ.ย. 56
14:18
161
Logo Thai PBS
รฟท.ยันบริหาร"แอร์พอร์ตลิงค์" แบบ "บริษัทจำกัด" เพื่อเพิ่มความคล่อง

ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า การนำโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ กลับมาบริหารภายในสังกัดการรถไฟแห่งประเทศไทย แทนในรูปแบบ "บริษัทจำกัด" เพราะต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการบริหาร ส่วนปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน ถึงขั้นไม่มีเงินเดือนจ่ายให้พนักงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า สามารถแก้ปัญหาได้

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง และโครงการรถไฟฟ้า ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฯ ตามแผนพัฒนาการลงทุนตามโครงการ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล จึงเป็นเหตุผลหลักที่ต้องการนำโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้ง เส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง พญาไทกับสนามบินสุวรรณภูมิ กลับมาบริหารเอง จากปัจจุบันที่มีสถานะเป็น "บริษัท จำกัด" เป็นบริษัทลูก มีการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือหุ้นร้อยเปอร์เซนต์

 
หากต้องพัฒนาแผนตามโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะไม่คล่องตัวในการบริหารจัดการ เนื่องจากผู้บริหารคนละชุด ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติรับทราบแผนดังกล่าวเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมแล้ว แต่เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงคมนาคมด้วย
 
สำหรับอนาคตรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ มีแผนขยายเส้นทางออกไปยังบางซื่อ และสนานบินดอนเมือง รวมทั้งเชื่อมรถไฟฟ้าความเร็วสูง ออกไปทางภาคตะวันออก ทั้งเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ตามแผนเร่งรัด 4 ปีของรัฐบาล
 
ปัจจุบันแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 50,000 คน มีรายได้เกือบ 600 ล้านบาทต่อปี แต่ขณะนี้สถานะทางการเงินมีปัญหา เนื่องจากต้องนำรายได้ส่งให้การรถไฟฯ ทั้งหมด โดยการถไฟฯ ไม่ได้จ่ายเงินอุดหนุน ทำให้เงินเดือนของพนักงานในเดือนพฤษภาคม ต้องนำเงินจากทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท ไปจ่ายให้พนักงาน
 
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า การจ่ายเงินเดือนมิถุนายนจะไม่เกิดปัญหาอีก เนื่องจากการรถไฟฯ จะนำเงินที่จ้างแอร์พอร์ตลิ้งค์บริหารเดินรถ 2 งวด เป็นเงิน 260 ล้านบาท ไปจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง