ชี้ความชำนาญเฉพาะด้านของ "แรงงานภาคบริการ-ค้าปลีก" ตลาดต้องการสูง ป้อนเออีซี

สังคม
6 มิ.ย. 56
12:17
508
Logo Thai PBS
ชี้ความชำนาญเฉพาะด้านของ "แรงงานภาคบริการ-ค้าปลีก" ตลาดต้องการสูง ป้อนเออีซี

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ชี้ถึงกระแสความต้องการในตลาดแรงงานด้านงานบริการและค้าปลีกในปัจจุบันจะมีความต้องการในตลาดอยู่มากและจะเป็นที่ต้องการในอนาคตรับการเปิดเออีซี รัฐ-เอกชนกระตุ้นรับการเปิดเออีซี คาดตลาดจะโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

 นางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดแรงงานในประเทศไทยยังถือว่ามีช่องว่างอยู่มาก เพียงแต่ค่านิยมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มนักศึกษาที่จบปริญญาตรีที่ต้องการงานที่ดี มีการเลือกงานและค่าตอบแทนที่มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดแรงงานประเภทกลุ่ม บริการและค้าปลีกยังเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันและคาดว่าจะมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งแรงงานกลุ่มดังกล่าวจะเติบโตรับกับการเปิดตลาดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างแน่นอน 

 
โดยแรงงานในกลุ่มธุรกิจบริการและค้าปลีกมีแนวโน้มในการเคลื่อนย้ายตามการค้าและการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไปซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะขาดแคลนแรงงานกลุ่มนี้ในอนาคตอันใกล้ จะเห็นได้จากปัจจุบันที่กระแสด้านสินค้าและบริการ จะมีแนวโน้มที่มาจากต่างชาติมากขึ้นตามกระแสนิยม มีเข้ามาลงทุนของสินค้าและบริการที่มาจากต่างชาติเพิ่มจำนวนสูงขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งสินค้าที่มาจากเกาหลี ญี่ปุ่น จีนและอเมริกาที่มาบุกตลาดในประเทศไทย ทั้งในส่วนของสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม สินค้าแฟชั่น อาหารแปรรูป และสินค้าเกี่ยวกับเทคโนโลยี และหากเปิดตลาดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ในอนาคต แรงงานในด้านบริการจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะระดับบริหารงานที่จะช่วยให้สินค้าและบริการมีศักยภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถ ดังนั้น ทักษะความรู้ ประสบการณ์ของบุคลากรในกลุ่มจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งและจะเป็นที่ต้องการในตลาดในอนาคต 
 
นางสาวสุธิดา กล่าวว่า โอกาสของแรงงานในกลุ่มบริการและค้าปลีกจะมีการขยายตัวค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงมองว่า ภาครัฐ ภาคเอกชน ควรให้ความสำคัญกับแรงงานในกลุ่มสาขางานบริการและค้าปลีกทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญในด้านทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน และมองถึงสิ่งที่จะเป็นจุดแข็งของแรงงานไทยในด้านงานบริการ อันจะเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจในอนาคต อีกทั้งกระตุ้นเพิ่มจำนวนบุคลากรเหล่านี้ให้มีจำนวนที่เพียงพอรับความต้องการของตลาดในอนาคต ซึ่งมองว่าตลาดในกลุ่มนี้จะมีการขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 เนื่องจากธุรกิจเดิมก็ต้องทำการขยายหน้าร้าน เพิ่มปริมาณพนักงานทุกระดับเพื่อให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังธุรกิจที่เตรียมเปิดใหม่บุกสู่ตลาดในประเทศตามลำดับ ดังนั้นเมื่อเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น 
 
กลุ่มธุรกิจเหล่านี้จะมีความต้องการพนักงานที่มีประสิทธิภาพตามไปด้วย จะเห็นได้ชัดจาก กลุ่มไดเร็กเซลล์ที่มีมีอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว จนเกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการแรงงานประเภท พนักงาน Call Center มีความต้องการเพิ่มขึ้น และยังแบ่งถึงความสามารถของพนักงานที่รับสายอย่างเดียว พนักงานที่สามารถให้ข้อมูลได้และสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ซึ่งพนักงานในกลุ่มระดับปฏิบัติการยังมีการ Turnover สูงอยู่ แต่ระดับ Management ระดับบริหารงานขึ้นไปจะมีการ Turnover ที่น้อยมาก จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น และอาจมีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศได้ ดังนั้นควรต้องมีการป้องกัน หรือเพิ่มจำนวนบุคลากรในกลุ่มนี้ให้มากขึ้นรับการเติบโตของตลาดในอนาคต 
 
นางสาวสุธิดา กาญจนกันติกุล กล่าวเพิ่มอีกว่า เทรนด์ของแรงงานในประเทศไทยในอนาคตจะมีทิศทางที่เปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากเดิม จะเห็นได้ชัดจากกระแสด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จะมีแรงงานบางกลุ่มที่มีทักษะในด้านไอที จะเข้าไปทำงานในองค์กรที่มีความต้องการด้านเทคโนโลยีมากขึ้น โดยแรงงานกลุ่มนี้จะมีการ Turnover ที่น้อย มีความก้าวหน้าสูง มีค่าตอบแทนที่สูงตามไปด้วย หรือแม้กระทั่งธุรกิจประกันในประเทศไทยทิศทางในอนาคตผู้ที่เลือกซื้อประกันต้องการความเชื่อมั่น และต้องการทราบถึงรายละเอียด สัดส่วนของประเภท Telesales จะน้อยลง แต่ประเภทแบบ B to B จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเช่นเดียวกัน 
 
ทั้งนี้ ทิศทางในอนาคตของตลาดแรงงานประเภทบริการและค้าปลีกจะเปลี่ยนไป ความรู้ความสามารถจะเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น ธุรกิจหรือองค์กรต่างชาติจะเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแรงงานในกลุ่มดังกล่าวสามารถแบ่งได้ตามวุฒิการศึกษา มีตั้งแต่ระดับมัธยม 3 ปวช. ปวส.ไปจนถึงระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และงานที่เข้าไปทำขึ้นความยากง่ายของงาน แบ่งตามทักษะความชำชาญของแต่ละบุคคล เช่น ทักษะเรื่องภาษา ทักษะเฉพาะด้านอีกด้วย ในปี 2555 ที่ผ่าน มีอัตราการว่างงานกว่า 1.13 แสนคน ดังนั้นหากกลุ่มผู้จบใหม่เหล่านี้ มีการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านนี้ ปรับทัศนะคติที่ในด้านงานบริการ ก็จะพบว่างานด้านนี้เป็นโอกาสที่ดี อีกทั้งการส่งเสริมให้ความรู้จากทางภาครัฐ ภาคการศึกษา เราเชื่อมั่นว่าปัญหาการว่างงานจะน้อยลง 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง