ลักษณะและความรุนแรงของฟ้าผ่ารูปแบบต่างๆ

สังคม
7 มิ.ย. 56
04:39
4,739
Logo Thai PBS
ลักษณะและความรุนแรงของฟ้าผ่ารูปแบบต่างๆ

ในช่วงนี้ยังคงต้องระวังฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะมักมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในช่วงบ่ายถึงค่ำ

ฟ้าผ่า ก็คือการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกมาจากเมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเป็นเมฆก้อนใหญ่ที่ก่อตัวในแนวตั้ง ภายในเมฆ กระแสอากาศไหลเวียนอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็ง เสียดสีกัน จนเกิดประจุไฟฟ้า บนยอดเมฆจะมีประจุบวก ส่วนฐานเมฆมีประจุลบ เหนี่ยวนำให้พื้นใต้เงาเมฆเป็นประจุบวก

<"">

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดฟ้าผ่า 4 แบบหลักๆ คือ ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ แบบนี้เกิดมากที่สุด เราจะเห็นเป็นฟ้าแลบ แบบที่สองคือ ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่ง ไปเมฆอีกก้อนหนึ่ง แบบที่สามคือ ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น ซึ่งแบบนี้ที่มักทำให้เกิดอันตรายกับคน สัตว์ สิ่งของบนพื้น

ส่วนแบบสุดท้าย คือฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น ซึ่งแบบนี้ก็อันตรายเหมือนกัน และระวังตัวได้ยาก เพราะเมฆฝนฟ้าคะนองที่อยู่ไกลๆ สามารถผ่าบริเวณที่อยู่ห่างออกมาได้ ถึง 30 กิโลเมตร โดยบริเวณนั้นไม่มีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่เหนือศีรษะ เป็นที่มาของคำว่าฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ

<"">
<"">

มีข้อมูลจากรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ระบุว่า ผู้ถูกฟ้าผ่าประมาณร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่รอดจะพิการถาวร จากการถูกทำลายระบบประสาท เช่นอัมพาต ตาบอด หูหนวก


ข่าวที่เกี่ยวข้อง