นักธุรกิจอุตฯจากยุโรปจีบไทยลงทุน "พลังงานขยะ"

สิ่งแวดล้อม
25 มิ.ย. 56
18:16
159
Logo Thai PBS
นักธุรกิจอุตฯจากยุโรปจีบไทยลงทุน "พลังงานขยะ"

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศดำเนินนโยบายแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ พลังงานและเทคโนโลยีเสริมประสิทธิภาพการผลิต การค้า –ลงทุน เพิ่มศักยภาพสินค้าบริการของไทยแข่งขันเวทีโลก

 นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า นโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ให้กรมฯแสวงหาวัตถุดิบ แหล่งพลังงาน และเทคโนโลยี เพื่อเสริมประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มศักยภาพทางการค้าการลงทุนในสินค้าและบริการของไทย รวมถึงให้สอดคล้องกับการวางที่ไทยเป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) จึงได้ผลักดันให้มีการเจรจาการค้าด้านธุรกิจพลังงาน (Renewable Energy Trade and Business Forum) วันที่ 26 – 29 มิถุนายนนี้ โดยกลุ่มนักธุรกิจสหภาพยุโรป(อียู) เดินทางมาเยี่ยมชมโรงงานผลิตและเชิญชวนนักธุรกิจไทยร่วมลงทุนในประเทศไทย ในสาขาธุรกิจสีเขียว  โดยมีกลุ่มธุรกิจพลังงาน อุตสาหกรรมหนักและนักวิชาการกว่า 30 รายเข้าร่วมงานสัมมนา

 
“เทคโนโลยีการนำขยะมารีไซเคิล เป็นพลังงาน ของบริษัท ดีซอย โฮลดิ้ง เอจี ได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จในยุโรป ประกอบกับบริษัทมีความพร้อมด้านการเงิน จึงต้องการแสวงหานักธุรกิจที่เล็งเห็นอนาคตเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งเป็นธุรกิจสีเขียว สอดรับกับกระแสอนุรักษ์โลก แต่การเข้ามาลงทุน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จึงต้องการจับคู่ธุรกิจ ในรูปของหุ้นส่วนกับนักธุรกิจไทยในสาขาขยะรีไซเคิล พลังงาน หรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อขยะ เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีวัตถุดิบ(ขยะพลาสติก)ป้อนโรงงานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยธุรกิจนี้จะช่วยเพิ่มช่องทางการผลิตพลังงานให้กับภาคการผลิตของไทย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง และสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยมากขึ้น”นางศรีรัตน์ กล่าว  
 
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจนี้ เนื่องจากสิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจของกระบวนการผลิต คือ การมีขยะที่เพียงพอ มีขนาดชุมชนที่มีประชากรเกิน 200,000 คน ถือว่ามีศักยภาพที่จะตั้งโรงงานได้ ซึ่งประเทศไทยเกือบทุกจังหวัด หรือประมาณร้อยละ 91.37 มีประชากรเกิน 200,000 คน ทาง   บริษัทฯ จึงตัดสินใจจัดคณะเดินทางมาไทย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างพลังงานทดแทนโดยการใช้นวัตกรรมใหม่ 
 
นางศรีรัตน์ กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกมีความกังวลในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นประกอบกับแนวโน้มการค้าได้ตระหนักถึงแหล่งพลังงานทดแทน อาทิ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ความร้อนใต้พิภพเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในอนาคต เช่นเดียวกับการลดมลพิษ ภาวะโลกร้อนและลดความเจ็บปวดจากการเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้า โดยในปี 2555  ประเทศไทยพลังงานนำเข้าจากทั้งหมด 47,859 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดนำสัดส่วน19% ของการนำเข้าประเทศทั้งหมดภาครัฐบาลเห็นความสำคัญของพลังงานทดแทน เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง