ความได้เปรียบของ อส.ในการดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

12 ก.ค. 56
08:23
263
Logo Thai PBS
ความได้เปรียบของ อส.ในการดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ความได้เปรียบของอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ และเป็นคนไทยมุสลิม ทำให้กองกำลังประจำถิ่น กลายเป็นกำลังหลัก ที่ดูแลความปลอดภัยในเดือนรอมฎอน โดยกำลังพลมุสลิมส่วนใหญ่ ยืนยันว่า การถือศีลอดไม่ได้กระทบต่อการทำงานของพวกเขา

สองข้างทางที่รกร้าง และความสุ่มเสี่ยงในภารกิจที่ทำเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะในเดือนถือศีลอด ทำให้อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เมื่อต้องคุ้มกันครูโรงเรียนรัชดาภิเษกในช่วงเช้า เพราะเหตุความไม่สงบที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องสวนทางกับข้อตกลงร่วมระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออร์ดิเนต ที่จะลดเหตุความรุนแรง ทำให้พวกเขาต้องทำงานอย่างเข้มแข็ง แม้กำลังบางส่วนจะถือศีลอดเช่นกัน

ความได้เปรียบของอาสาสมัคร อส.ที่เป็นกองกำลังประจำถิ่น ซึ่งมีความคุ้นเคยพื้นที่ และส่วนใหญ่เป็นคนไทยมุสลิม ทำให้ อส.กลายเป็นกำลังหลัก ที่เข้ามาดูแลความปลอดภัยในช่วงเดือนรอมฎอน โดยมีกำลังทหาร และตำรวจเป็นพี่เลี้ยง ในบางพื้นที่ เพื่อลดการกระทบกระทั้งระหว่างเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ออกไปประกอบศาสนกิจ

อส.หญิงคนหนึ่งระบุว่า การถือศีลอด ไม่ได้กระทบในเรื่องงาน หากเจ้าหน้าที่พยายามปรับตัว และในช่วงเดือนถือศีลอด เพื่อนอส .ที่นับถือศาสนาพุทธ ก็มักจะช่วยแบ่งเบาภารกิจในบางส่วน เพื่อช่วยเหลือเพื่อน อส.ชาวไทยมุสลิมให้ได้ประกอบศาสนกิจอย่างเต็มที่

ปัจจุบันสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกำลัง อส.ประมาณ 2,700 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งพวกเขาบอกว่า การประกอบศาสนกิจไม่กระทบต่อการทำงาน แต่ในทางตรงกันข้าม ปัจจุบันมีความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น และหลายหน่วยงานก็จัดให้มีการทำกิจกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกำลังพลที่เป็นคนไทยมุสลิม เช่น การจัดให้มีการละศีลอดพร้อมกันในช่วงค่ำ การแจกจ่ายผลอินทผาลัมให้กำลังพล หรือการตรวจสุขภาพเพื่อการเตรียมพร้อมในการถือศีลอด

ข่าว : 12 เตรียมแถลงบีอาร์เอ็น--พี่หนุ่ย
เลขาฯ สมช.ยืนยัน "บีอาร์เอ็น" แถลงท่าทีในช่วงเดือนรอมฎอนบ่ายวันนี้
สภาความมั่นคงแห่งชาติ,บีอาร์เอ็น,รอมฎอน,ปัตตานี,มาเลเซีย,ชายแดนภาคใต้,

ขบวนการแนวร่วมแห่งชาติมาลายูปัตตานี หรือบีอาร์เอ็น ยอมรับว่าเหตุลอบวางระเบิด ที่จังหวัดยะลาวานนี้ (11 ก.ค.) เป็นการกระทำของกลุ่มเครือข่ายย่อย โดยเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เชื่อว่าการยอมรับครั้งนี้จะทำให้เหตุความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง โดยเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอนนี้

พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวยืนยันถึงกำหนดการที่ทางการมาเลเซีย จะอำนวยความสะดวกให้ ตัวแทนขบวนการบีอาร์เอ็นแถลงถึงท่าทีต่อข้อเสนอยุติเหตุรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอน ในเวลา 15.00 น.วันที่ 12 กรกฎาคม จากเดิมที่เลื่อนมาจากวันที่ 9 กรกฎาคม

เลขาฯ สมช.ระบุว่า การแถลงข่าวจะทำให้เกิดความชัดเจน กับฝ่ายไทย และบีอาร์เอ็น โดยจะมีชุดประสานงานติดตามเหตุว่าเกิดจากฝ่ายใด เพื่อหาทางยุติ ซึ่งเหตุลอบวางระเบิดที่จังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ทางกลุ่มบีอาร์เอ็น ยอมรับว่า เป็นฝีมือของกลุ่มเครือข่ายย่อย ที่ไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นเมื่อมีการยอมรับ จึงเชื่อมั่นว่าเหตุความรุนแรงจะลดลง โดยเฉพาะในช่วงรอมฎอนนี้

เลขาฯ สมช.ชี้แจงถึงเงื่อนไขการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น และการทำข้อตกลง 2 ฝ่ายนั้นจะต้องลดบรรยากาศความตึงเครียด โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน หรือช่วงเทศกาลถือศีลอด โดยทางการไทยได้ตอบรับ และปฏิบัติตามข้อเรียกร้องในการลดกำลังทหาร ลดการปิดล้อม ตรวจค้น และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติการรักษาดูแลความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในพื้นที่แทน ซึ่งขณะนี้ได้ทดลองแผนปฏิบัติไปแล้วใน 10 หมู่บ้าน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง