เปิดยุคทองของ "มิวสิกวีดีโอ" ในยุคดิจิตอล

Logo Thai PBS
 เปิดยุคทองของ "มิวสิกวีดีโอ" ในยุคดิจิตอล

งาน MTV Video Music Awards ที่จะประกาศผลในวันอาทิตย์นี้ (25ส.ค.56) ถือเป็นปีที่ 30 แล้วที่ช่อง MTV ประกาศความเป็นผู้นำ ในฐานะผู้กำหนดความโด่งดังของมิวสิควิดีโอทางโทรทัศน์ แต่ในยุคที่ช่องทางหลัก สำหรับการชมเอ็มวีอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้การกำหนดว่าเอ็มวีเพลงไหนจะโด่งดังกลายเป็นอำนาจในมือของแฟนเพลง

ภาพมิวสิควิดีโอที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานซึ่งเกิดจากการถ่ายทำด้วยวิดีโอเทป VHS รุ่นเก่า อาจทำให้มิวสิควิดีโอเพลง Locked Out Of Heaven ของ บรูโน่ มาร์ ไม่ได้รับการอนุมัติให้ออกอากาศทางช่อง MTV เมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่เอ็มวีที่มีผู้ติดตามทางยุทูปกว่า 185 ล้านครั้ง คือ หนึ่งในผลงานที่เข้าชิงรางวัลมิวสิควิดีโอยอดเยี่ยมของงาน MTV Video Music Awards ในปีนี้ ถือเป็นผลงานที่สะท้อนเอกลักษณ์ของมิวสิควิดิโอยุคใหม่ที่ไม่ยึดติดกับแบบแผนเหมือนในอดีต 

 
30 ปีที่ผ่านมา MTV นับว่า มีบทบาทอย่างสูงในการกำหนดความโด่งดังให้กับเพลงๆ หนึ่ง มีผลงานมากมายกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกหาก MTV เลือกที่จะนำเสนอเพลงนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ศิลปินมากมายหันมาผลิตมิวสิควิดิโอให้เหมาะสมสำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้เนื้อหาในเอ็มวีต้องเหมาะสมกับผู้ชมทุกวัย และส่วนใหญ่จะมีความยาวไม่เกิน 5 นาทีเพื่อเหมาะสมกับช่วงเวลาออกอากาศ ซึ่งบางครั้งศิลปินต้องยอมตัดท่อนดนตรีทางท่อนให้เอ็มวีมีความกระชับมากขึ้น 

    

 
แต่ปัจจุบันที่ผู้คนหันมารับชมมิวสิควิดีโอทางออนไลน์ โดยเฉพาะทางยูทูปเป็นหลัก ข้อกำจัดที่เคยมีในวงการเอ็มวีก็ค่อยๆ หมดไป เห็นได้จากผลงานที่เข้าชิงสาขามิวสิควิดีโอยอดเยี่ยมของงาน MTV ทั้ง Mirrors ของ จัสติน ทิมเบอร์เลค ที่มีควยามยาวของเอ็มวีถึง 8 นาที ขณะที่ข้อกำหนดว่าเอ็มวีต้องมีการแสดงดนตรีก็ลดความสำคัญลง เมื่อผู้กำกับเอ็มวีหันมาเน้นที่เนื้อเรื่องเป็นหลัก ทั้งใน I Knew You Were Trouble ของเทเลอร์ สวิฟท์ ที่สร้างจุดสนใจด้วยเรื่องราวการแตกหักของคู่รัก ซึ่งบ่อยครั้งเอ็มวีที่โด่งดังไม่ได้มาจากทุนสร้างที่มหาศาล เช่น ความสำเร็จของ THRIFT SHOP ของ MACKLEMORE และ RYAN LEWIS ที่มีผู้ชมกว่า 4 ร้อยล้านครั้ง ก็ใช้งบประมาณในการถ่ายทำไปเพียง 15,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น 
 
ความสำเร็จเมื่อปีที่แล้วของ Gangnam Style เอ็มวีที่ส่งให้ Psy เป็นที่รู้จักไปทั่วสหรัฐฯ ตั้งแต่ยังไม่มีสถานีวิทยุไหนในอเมริการู้จักเพลงนี้ หรือความสำเร็จของวงอินดี้อย่าง Atlas Genius ที่ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงเนื่องจากเอ็มวีของวงเป็นที่สนใจของแฟนเพลง โดย เจฟ รับฮาน แห่งมหาวิทยาลัย New York University หน้าที่ผู้เฝ้าประตูตามทฤษฎีสื่อสารมวลชนพื้นฐานไม่มีอยู่ในวงการเพลงปัจจุบันอีกต่อไป ผู้กำหนดความสำเร็จของเอ็มวีกลายเป็นแฟนเพลง หากเอ็มวีไหนกลายเป็นไวรอลบนโลกออนไลน์ สถานวิทยุและ MTV จึงค่อยหันมาสนใจเพลงนั้น และจึงตามมาด้วยความสำเร็จของยอดขายในภายหลัง 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง