"Singing bowls" ดนตรีบำบัดเพื่อผ่อนคลายจิตใจ

Logo Thai PBS
"Singing bowls" ดนตรีบำบัดเพื่อผ่อนคลายจิตใจ

จะเล่นกี่ครั้งท่วงทำนองก็เปลี่ยนไปตามอารมณ์ และความรู้สึกของผู้เล่นไม่ต่างจากดนตรีสด ขณะที่วัตถุประสงค์ยังเหมือนเดิม คือ เน้นการบำบัดด้วยคลื่นเสียง ที่สร้างสมาธิและความสุขในช่วงเวลาผ่อนคลาย

                 

<"">

เสียงนุ่มทุ้ม ต่างกันไปตามขนาด และแร่รัตนชาติ ที่นำมาทำชามแก้ว นี่คือดนตรีบำบัดหรือ Singing bowls ศาสตร์ของคลื่นพลังงาน ที่เชื่อว่าส่งถึงผู้ฟัง และสามารถคลายเครียดได้
                 
<"">

เพียงหลับตา แต่เปิดใจ ทำร่างกายให้ผ่อนคลายทุกส่วน หลักง่าย ๆ ในการบำบัดด้วยคลื่นเสียง ที่ กัมปนาท บัวฮมบุรา ให้ผู้ร่วมบำบัดได้นอนสมาธิไปพร้อม ๆ กับการสร้างจิตใจสงบ แต่รู้ตื่น อาจารย์กัมปนาท ศึกษาปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาเด็ก จากอินโดนีเซีย และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวันเนส ประเทศอินเดียด้านจิตวิญญาณสากล หลังจากนั้นจึงสนใจศาสตร์คลื่นเสียงบำบัดมากว่า 20 ปี เขาเชื่อว่านอกเหนือจากเสียงดนตรี ถ้อยคำดี ๆ ที่เปล่งออกมายังช่วยพัฒนาจิตใจได้ด้วย
                  
<"">

กัมปนาท บัวฮมบุรา นักดนตรีคลื่นเสียงบำบัด กล่าวว่า "ผมจะเล่นดนตรีผ่านข้อมูลเชิงบวก เพื่อช่วยทำปฏิกิริยากับจิตใต้สำนึกเพื่อล้างจิตสำนึกให้ดี ใสสะอาดสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันนี้ได้"

คุณเอริโกะ และคุณยูน่า มีพื้นฐานเรื่องดนตรีทั้งคู่เลย โดยท่านหนึ่งเป็นนักเปียโน อีกท่านเป็นนักร้อง แต่นี่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ทั้ง 2 ท่านมาศึกษาดนตรีบำบัดอย่างจริงจัง แต่เหตุผลที่แท้จริงคือ การหนีจากความทุกข์ ซึ่งทั้งคู่บอกว่าช่วยได้ทั้งกาย และใจ
                  
<"">

หลายปีแล้วที่ชาวญี่ปุ่นทั้ง 2 คน ติดตามอาจารย์ชาวไทย ไปบรรเลง Singing Bowls ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบอเมริกา และญี่ปุ่นบ้านเกิดของพวกเธอ ทั้งคู่เริ่มจากการศึกษาโน้ตของชามแต่ละใบ เลือกดนตรีที่จะบรรเลงให้เหมาะกับกลุ่มผู้ฟัง และเปล่งร้องในแบบฉบับของตัวเอง

เอริโกะ มิยาอุชิ  - ยูน่า ฮานาอิ  นักกดนตรี Singing bowls เผยว่า "คนญี่ปุ่นเรามีค่านิยมที่ว่า จะทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด ก็เลยทำให้มีการแข่งขันสูงและเครียดมาก และยังมีระเบียบวินัยที่เป็นกรอบกำหนดอีก คนส่วนหนึ่งก็หาทางออกเปิดใจรับการบำบัดทางเลือก ซึ่งความยากในการฝึกเล่น Singing Bowls อยู่ที่การทำความเข้าใจเรื่องจิตภายใน และสมาธิ" 
                  
<"">

ความเชี่ยวชาญในเรื่องจิตวิทยาเด็ก ทำให้อาจารย์กัมปนาท เดินทางไปช่วยบำบัดให้เยาวชน และผู้คนในหลายพื้นที่ หลายปัญหา ได้รับการแก้ไข ไม่ใช่เพราะเสียงดนตรีเท่านั้น แต่มาจากความใส่ใจ สอนให้ผู้ฟังเข้าใจจังหวะชีวิต และหัดปล่อยวาง ความสุขสงบจึงเกิดขึ้นเกิดขึ้นกับทั้งผู้ฟัง และครูนักบำบัดวัย 52 ปีที่เลือกจะใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือกล่อมเกลาจิตวิญญาน


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง